เคล็ดลับฟื้นฟูโรคเบาหวานด้วยอาหารเสริมGH3
อาหารเสริมลดเบาหวาน สูตรวิจัยบำรุงระดับเซลล์ แก้เบาหวานที่ต้นเหตุ
โทรเลย 0815659174 ไลน์ไอดี GH3family
สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน คุณคิดอย่างนี้หรือไม่
• ไม่อยากกินยาเบาหวานไปตลอดชีวิต
• เบื่อกับการคุมอาหารจนเครียดไม่มีความสุขในการกิน
• ไม่อยากทานยาต่อเนื่อง ยิ่งกินยิ่งเยอะ กลัวตับไตพัง
ถ้าใช่ เราขอแนะนำ “อาหารเสริมGH3”
อาหารเสริมGH3คือสูตรวิจัยบำรุงระดับเซลล์บำรุงการหลั่งโกรทฮอร์โมน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งการชะลอวัยของร่างกาย ช่วยแก้ปัญหาโรคเบาหวานด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพซ่อมแซมตัวเองของร่างกายจากสารอาหารที่ตรงจุด ฟื้นฟูเซลล์ให้กลับมาอ่อนเยาว์ บำรุงตับอ่อนและการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินให้กลับมามีประสิทธิภาพ ปรับสมดุลระบบร่างกายให้กลับมามีความสามารถในการซ่อมแซมรักษาตัวเองอีกครั้ง ไม่ใช่แค่เพียงระงับอาการของโรคจึงเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้อย่างแท้จริง
GH3รีวิวจากผู้ทานโรคเบาหวาน
ตลอด 7 ปีที่บริษัทเปิดทำการ เราได้เก็บรวบรวมสัมภาษณ์ผลลัพธ์หลังการทานGH3จากกลุ่มผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจำนวนมาก มาดูกันเลยค่ะว่าเขามีปัญหาเหมือนกับคุณไหม แต่ละท่านมีความประทับใจในGH3อย่างไรบ้างดูทั้งหมดคลิ๊ก
เจาะลึกอาหารเสริมGH3กับการแก้ปัญหาโรคเบาหวาน
ฟังวีดีโอจากผู้เชี่ยวชาญของเรามาเจาะลึกอาหารเสริมGH3 และตอบทุกข้อสงสัย เกี่ยวกับการแก้ปัญหาฟื้นฟูและป้องกันโรคเบาหวานกันได้เลยค่ะ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
เกี่ยวกับคุณสมบัติของอาหารเสริมGH3กับการช่วยโรคเบาหวานได้ดังนี้ค่ะ เลือกเมนูที่อยากอ่านได้เลยค่ะ
• อาหารเสริมGH3ช่วยโรคเบาหวานได้อย่างไร •
• GH3 มีมาตราฐานรับรองอะไรบ้าง มีผลต่อตับไตไหม •
• ราคาโปรโมชันพิเศษของอาหารเสริมGH3วันนี้ •
• GH3ระยะเห็นผลและพัฒนาการสุขภาพที่ดีขึ้น •
อาหารเสริมGH3คืออะไร ช่วยในผู้เป็นโรคเบาหวานได้อย่างไร
อาหารเสริมGH3 คือสูตรวิจัยบำรุงโกรทฮอร์โมนจากสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่บำรุงระดับเซลล์ด้วยการสร้างเซลล์ใหม่ที่แข็งแรงและซ่อมแซมเซลล์เก่าในร่างกายที่เสื่อมสภาพ
โกรทฮอร์โมนคือฮอร์โมนที่ได้รับการกล่าวขานทั่วโลกว่าเป็น “น้ำพุแห่งความเยาว์วัย” หรือ “ฮอร์โมนแห่งการชะลอวัย” เพราะโกรทฮอร์โมนทำหน้าที่ปลุกโปรตีนให้ลุกขึ้นมาซ่อมแซมเซลล์และอวัยวะต่างๆในร่างกายให้กลับคืนความสมบูรณ์อ่อนเยาว์เหมือนวัยหนุ่มสาว
การขาดสารอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราหลั่งโกรทฮอร์โมนได้น้อยลง ทำให้แก่เร็ว และมีโรคที่เรียกว่า “กลุ่มโรคชราภาพ”มาคุกคามเร็วขึ้น ซึ่งโรคเบาหวานก็คือโรคที่มีต้นเหตุจากความเสื่อมสภาพของร่างกายนั่นเอง
โรคเบาหวาน แก้ได้ด้วยการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพของเซลล์
โรคเบาหวานคือโรคที่อยู่ในกลุ่มของโรคชราภาพ แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการรับประทานน้ำตาลหรืออาหารหวานมาก แต่ต้นเหตุที่แท้จริงอยู่ที่ร่างกายของเราที่เสื่อมสภาพลง
ถ้าเปรียบกับในวัยเด็กแม้เราทานหวานมากเท่าไร อวัยวะและเซลล์ต่างๆยังแข็งแรงสมบูรณ์ ร่างกายเราก็สามารถปรับสมดุลน้ำตาลในเลือดได้อย่างสบายๆไม่มีปัญหา แต่เมื่อเซลล์เราเสื่อมสภาพ อวัยวะเสื่อมสภาพ แม้เรากินหวานเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ร่างกายเราก็ปรับไม่ไหว และแสดงอาการเสื่อมสภาพที่เรียกว่าโรคเบาหวานออกมา
เมื่อร่างกายเราเสื่อมสภาพลงหรือเรียกอีกอย่างว่าการเข้าสู่ความชราภาพ อวัยวะต่างๆทำงานได้แย่ลง การผลิตฮอร์โมนเริ่มผิดปกติ สมดุลน้ำตาลในเลือดของร่างกายจึงเสียไป ส่งผลให้เกิดโรคเบาหวาน
ในกลุ่มผู้เป็นโรคเบาหวาน ความเสื่อมสภาพที่ส่งผลเสียต่อร่างกายเกิดขึ้นอย่างมากที่ ตับอ่อน ฮอร์โมนอินซูลิน ระบบการเผาผลาญพลังงาน ทั้งหมดนี้ล้วนเสียสมดุลไปเนื่องจากต้นเหตุเดียวกัน คือ ความเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกายเรา
หัวหน้าของฝ่ายซ่อมแซมร่างกายคือโกรทฮอร์โมนนั่นเอง
คุณรู้ไหมว่าเซลล์ในร่างกายต้องการอะไร?
ทุกๆวันเซลล์ของเราเสื่อมสภาพลงไปตามอายุขัยและพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพของเราก็เป็นตัวเร่งให้ร่างกายทรุดโทรมเร็วขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เป็นโรคเบาหวาน เมื่อตับอ่อนเสื่อมสภาพ การหลั่งอินซูลินและความสามารถในการคุมน้ำตาลในเลือดของร่างกายก็แย่ลงไปด้วย เซลล์ในร่างกายต้องการสารอาหารกลุ่มโปรตีนพื้นฐานมาซ่อมแซมฟื้นฟูตัวเอง และต้องการกรดอะมิโนพิเศษมาเพื่อบำรุงการหลั่งโกรทฮอร์โมนที่ทำหน้าที่สั่งการให้เกิดการซ่อมแซมเซลล์ในร่างกาย
แม้จะได้รับโปรตีนมากแค่ไหน หากไม่มีตัวสั่งการให้เกิดกระบวนการซ่อมแซม โปรตีนเหล่านั้นก็ไม่ได้ใช้งานและถูกเผาผลาญทิ้งไป
สรุปอาหารเสริมGH3 ช่วยผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้อย่างไร
อาหารเสริมGH3รวมสารอาหารสูตรวิจัยบำรุงระดับเซลล์นี้มีคุณสมบัติสำคัญที่ช่วยผู้เป็นเบาหวานให้มีอาการดีขึ้น ช่วยฟื้นฟูตับอ่อน ระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ล้างไขมันในเส้นเลือด และช่วยระบบหมุนเวียนของเลือด ช่วยให้ตับอ่อนสามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ดีขึ้น ระดับเบาหวานลดลง และโรคแทรกซ้อนต่างๆจากเบาหวานดีขึ้นเป็นลำดับ
อาหารเสริมGH3 รวมสารกรดอะมิโนและวิตามินที่สำคัญช่วยบำรุงต่อมใต้สมองให้แข็งแรงทำให้สามารถหลั่งโกรทฮอร์โมนได้มากขึ้นโดยธรรมชาติ โกรทฮอร์โมนถูกเรียกว่าเป็นฮอร์โมนมหัศจรรย์ เป็นที่ขึ้นชื่อในคุณสมบัติการย้อนนาฬิกาชีวิตให้กลับเป็นหนุ่มสาว ชะลอความแก่ ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่างๆในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์และให้เซลล์กลับมาแข็งแรง ช่วยการหมุนเวียนของเลือด ล้างไขมันในหลอดเลือด ทำให้สามารถลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปช่วยซ่อมแซมเซลล์ต่างๆได้ดีขึ้น ทำให้อวัยวะต่างๆและระบบการทำงานของร่างกายดีขึ้นจากระดับเซลล์ นั่นรวมถึงอวัยวะตับอ่อนและการฟื้นฟูระบบภูมิต้านทานของร่างกายให้ได้สมดุลด้วย ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของการเกิดโรคเบาหวาน
โกรทฮอร์โมนซึ่งเป็นการบำรุงซ่อมแซมระดับเซลล์นี้จะช่วยให้ตับอ่อนแข็งแรงขึ้นจึงสามารถหลั่งอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญที่มีหน้าที่นำน้ำตาลในกระแสเลือดไปใช้เปลี่ยนเป็นพลังงาน หากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลย หรือมีปัญหาระหว่างอินซูลินกับเซลล์ จะทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ ส่งผลให้เกิดการคั่งค้างของน้ำตาลในเลือดและส่งผลถึงการเป็นเบาหวานโดยตรงนั่นเอง
ดังนั้นเมื่อระบบของร่างกายและตับอ่อนทำงานได้ดีขึ้น จึงทำให้สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ผู้ป่วยเป็นเบาหวานหรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้ด้วยคุณสมบัติของกรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบในอาหารเสริม GH3 ที่ช่วยในการล้างไขมันในหลอดเลือด ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ลดความเสื่อมของหลอดเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงและฟื้นฟูโรคแทรกซ้อนต่างๆที่ตามมาจากโรคเบาหวานได้อีกด้วย เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัว โรคชาตามปลายมือปลายเท้า โรคเส้นประสาทเสื่อม โรคสายตาพร่ามัว เป็นต้น
ระยะเวลาการเห็นผลคุณสมบัติในการฟื้นฟูเบาหวาน : ส่วนใหญ่สุขภาพของผู้ทานจะดีขึ้นเห็นผลไดัชัดตั้งแต่ภายใน2-4อาทิตย์แรก ในส่วนค่าเบาหวานเมื่อทานอาหารเสริมโกรทฮอร์โมน GH3 ไปในระยะแรก 1-2 เดือนแรกค่าเบาหวานจะมีการสวิงขึ้นลงเล็กน้อยเนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายปรับสมดุล และโดยเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดจะดีขึ้นและเข้าสู่สภาวะสมดุลขึ้นในช่วงเดือนที่3-4 และอาการของโรคแทรกซ้อนต่างๆที่มาจากเบาหวานจะดีขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนแรกของการรับประทาน จะเห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจนในเรื่องอื่นๆ เช่น การนอนหลับที่ดีขึ้น ผิวพรรณจะเต่งตึงขึ้น ฝ้ากระจะจางลง จะมีเรี่ยวแรงมากขึ้น อาการอ่อนเพลียจะน้อยลง อาการปวดเมื่อยลดลง ระบบเผาผลาญดีขึ้น และโรคอาการต่างๆที่เกิดขึ้นที่มีสาเหตุจากการเสื่อมสภาพของเซลล์โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในช่วงที่อายุมากขึ้นจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
อาหารเสริมGH3มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
GH3 รวมกรดอะมิโนโปรตีนคุณภาพสูงในสูตรของการบำรุงโกรทฮอร์โมนเพื่อการบำรุงซ่อมแซมระดับเซลล์ แก้ปัญหาเบาหวานและกลุ่มอาการชราภาพที่เกิดจากปัญหาความเสื่อมสภาพของร่างกาย ในสูตรวิจัยมีส่วนประกอบของกรดอะมิโนโปรตีนคุณภาพสูงที่หาได้ยากในอาหารทั่วไปมากกว่า 10 ชนิด สารสกัดหลักได้มาจากหัวน้ำนมเหลืองโคลอสตรุ้มออแกนิคจากนิวซีแลนด์และถั่วขาวคุณภาพสูงสุดที่พบได้ในเม็กซิโก
อาหารเสริมGH3 1 เม็ด 1,000 มิลลิกรัม ดูส่วนประกอบทั้งหมด
GH3 มีมาตราฐานรับรองอะไรบ้าง มีผลต่อตับไตไหม
สกัดจากธรรมชาติ100% ไร้สารเคมี
อาหารเสริมGH3 ผ่านมาตราฐานอย. เลขที่ 10-1-04741-1-0414 มาตราฐานฮาลาล GMP และ HACCP อย่างครบถ้วน
GH3คือสูตรวิจัยที่ทานเพื่อให้ดีต่อสุขภาพของผู้ทานอย่างแท้จริง ไม่ใส่สารเคมี ไม่ใส่สารกันบูดและสารกันเม็ดเปลี่ยนสี เพื่อให้ปลอดภัยต่อตับไต ไม่มีผลข้างเคียงทั้งในการทานระยะสั้นและระยะยาว
วิธีการรับประทาน GH3
ทานตอนท้องว่าง ดูดซึมสารอาหารได้ดีที่สุด
รับประทานตอนเช้า (หลังตื่นนอน) และเย็น (ช่วง4-6โมงเย็น) วันละ1-8 เม็ด ครั้งละไม่เกิน 4 เม็ด แนะนำรับประทานได้ 2 รูปแบบดังนี้
1. สูตรมาตราฐาน : เดือนที่ 1 รับประทานวันละ 4 เม็ด เช้า2เม็ด เย็น2เม็ด เดือนที่ 2 รับประทานวันละ 2 เม็ด แบ่งทานเช้าเย็นหรือทานช่วงเย็นทีเดียวก็ได้เดือนที่ 3 เป็นต้นไปสังเกตอาการ หากสุขภาพฟื้นฟูขึ้นในระดับที่ดีแล้ว สามารถลดปริมาณการทานเหลือวันละ 1 เม็ดช่วงเย็น และหลังจากนั้นสามารถหยุดทานได้ โดยแนะนำรับประทานเป็นการป้องกันบำรุงเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทานต่อเนื่องตลอดไป
2. สูตรทานแบบประหยัด: เหมาะกับผู้เริ่มทานที่ต้องการความมั่นใจเพื่อเน้นให้เห็นผลลัพธ์ของสุขภาพที่ดีขึ้นก่อน แนะนำรับประทานวันละ 2 เม็ด แบ่งทานเช้าเย็นหรือทานช่วงเย็นทีเดียวก็ได้ ส่วนใหญ่ระยะเห็นผลจะอยู่ภายในช่วงอาทิตย์ที่ 2-4 จึงแนะนำรับประทานต่อเนื่อง 1 เดือนเพื่อให้ถึงระยะเห็นผล
*สามารถปรับเพิ่มลดปริมาณการทานโดยดูจากพัฒนาการสุขภาพได้ ช่วงไหนร่างกายเจอภาวะเครียดหรือต้องการบำรุงแบบเข้มข้นสามารถปรับเพิ่มได้ ช่วงไหนร่างกายมีสุขภาพสมบูรณ์คงตัวแล้วสามารถลดหรือหยุดได้
ราคาโปรโมชันพิเศษของอาหารเสริมGH3วันนี้
GH3 ระยะเห็นผล และพัฒนาการสุขภาพที่ดีขึ้นของผู้เป็นเบาหวานส่วนใหญ่
กดเลือกใส่สินค้าลงตะกร้าได้เลย
รายละเอียดพัฒนาการที่ดีขึ้นหลังทานGH3
1 อาทิตย์แรก: ภูมิต้านทานเพิ่มสูงขึ้น เป็นช่วงของการปรับสมดุลขับสารพิษ เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีและตรงจุดเข้าไป จะเกิดการกระตุ้นให้ระบบซ่อมแซมร่างกายทำงานเพื่อนำสารอาหารไปใช้ซ่อมแซมเซลล์ ช่วงนี้ส่วนใหญ่จะมีอาการปรับสมดุลขับสารพิษต่างๆซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่าร่างกายเข้าสู่กระบวนการซ่อมแซมปรับสมดุล อาการเช่น ง่วงบางวัน (ระบบการนอนหลับปรับ) มึนหัว (ระบบหมุนเวียนเลือดปรับ) ครั่นเนื้อครั่นตัว (ภูมิต้านทานสูงขึ้นเม็ดเลือดขาวเริ่มทำงานขับไล่เชื้อโรค) เป็นต้น ตามแต่สารพิษหรือปัญหาที่สะสมในร่างกายแต่ละคน
ซึ่งล้วนเป็นสัญญาณที่ดีว่าร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซม ส่วนใหญ่ช่วงของการขับสารพิษปรับสมดุลจะไม่เกิน3-7วัน แนะนำพักผ่อนเพื่อให้ช่วงนี้ผ่านไปเร็วขึ้น และเมื่อผ่านช่วงนี้แล้วร่างกายจะรู้สึกสดชื่นปลอดโปล่งอย่างเห็นได้ชัด
อาทิตย์ที่ 2-4: ระบบการนอนหลับดีขึ้น หลับลึก หลับสนิท หลับสบาย การซ่อมแซมฟื้นฟูเซลล์จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่วนใหญ่จะเห็นผลลัพธ์ของสุขภาพที่ดีขึ้นได้ตั้งแต่เดือนแรก
อาทิตย์ที่5 เป็นต้นไป: ช่วงนี้สุขภาพของเราจะดีขึ้นเรื่อยๆตามลำดับอย่างชัดเจน โดยพัฒนาการสุขภาพที่ได้จะแตกต่างกันไปตามปัญหาสุขภาพพื้นฐานของเรา
หมายเหตุ* ระยะ 1-2 เดือนแรก ช่วงนี้ค่าเบาหวานหรือระดับน้ำตาลในเลือดอาจมีการสวิง เนื่องจากเป็นช่วงของการปรับสมดุล และส่วนใหญ่จะเริ่มดีขึ้นและคงตัวประมาณในช่วงเดือนที่ 3 เป็นต้นไป แต่ก่อนหน้านั้นเราจะสังเกตสุขภาพของเราที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน
วิธีการสั่งซื้อGH3
ตะกร้าสินค้า
LINE ID: gh3family
โทรเลย 08-1565-9174
ส่งข้อความเฟ้สบุ้ค
ที่อยู่บริษัท
วิธีการชำระเงิน
โอนตามบัญชีดังนี้ แล้วแจ้งโอนเงินพร้อมชื่อที่อยู่จัดส่งได้เลย สินค้าพร้อมส่งค่ะ
ร่วมเป็นครอบครัวGH3family
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
มารู้จักโรคเบาหวานกัน (Diabetes)
โรคเบาหวานคือโรคเรื้อรังประเภทหนึ่งที่พบมากในยุคปัจจุบัน เป็นโรคที่ในร่างกายของเรามีสภาวะที่ “ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ”
ฮอร์โมนอินซูลิน คืออะไร
ฮอร์โมนอินซูลิน คือฮอร์โมนที่หลั่งมาจากเซลล์ของอวัยวะตับอ่อน หน้าที่สำคัญคือการขับเคลื่อนพาน้ำตาลในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ต่างๆ โดยเซลล์เหล่านั้นจะทำการเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงานในการทำงานของเซลล์ ดังนั้นหากร่างกายหลั่งอินซูลินผิดปกติ เช่น หลั่งได้น้อยเกินไป หรือมีประสิทธิภาพแย่ กระบวนการนำพาน้ำตาลเข้าสู่เซลล์จึงเสียสมดุล และทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดสูงจนเป็นโรคเบาหวานได้ ระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน ระดับน้ำตาลมาตราฐานมีการเปลี่ยนแปลงในหลายยุคสมัย โดยในปัจจุบันถือว่าคนที่มีระดับน้ำตาลมากกว่า 126 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว ส่วนในผู้ที่มีระดับน้ำตาลในช่วง 100-126 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นช่วงก่อนเป็นเบาหวาน (Prediabetes) และในผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่ถึง 100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นระดับปกติ นอกจากนั้นเรายังสามารถตรวจสอบค่าความทนทานต่อเบาหวาน (Glucose tolerance test) โดยการทดลองให้เรารับประทานน้ำตาลปริมาณ 75 กรัม แล้วในอีก 2 ชั่วโมงต่อมาจึงวัดค่าน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลสูงกว่า 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ในส่วนคนปกติจะมีระดับน้ำตาลต่ำกว่า 140 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และในผู้ที่ช่วงระดับน้ำตาลอยู่ระหว่างนั้น คือ 140-200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ในช่วงก่อนเป็นเบาหวานหรือมีความเสี่ยงสูงนั่นเอง
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
- ผู้ที่มีญาติที่เป็นโรคเบาหวาน โรคนี้เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากเรามีญาติ พ่อแม่พี่น้องปู่ย่าตายายที่เป็นโรคเบาหวาน เราก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้น
- ผู้ที่มีไขมันสะสมสูง อ้วน น้ำหนักเกินมาตราฐาน โดยเฉพาะกลุ่มที่ชอบกินอาหารหวาน น้ำตาลสูง ไขมันสูง และผู้ที่ขาดการออกกำลังกายจะทำให้เสี่ยงเพิ่มขึ้นมาก
- ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีค่าความดันโลหิตตัวบนสูงกว่า 140 และตัวล่างสูงกว่า 90
- สตรีที่เป็นโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์
โรคเบาหวานในเด็ก
โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นในเด็กแบ่งหลักๆเป็น 2 แบบ คือ
- โรคเบาหวานในเด็กชนิดที่ 1 โดยชนิดนี้ส่วนใหญ่หากเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กจะพบมากในช่วงวัยรุ่น แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย มีสาเหตุที่ยังไม่ทราบชัด สันนิษฐานว่าเกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรมที่ทำให้ระบบภูมืคุ้มกันทำงานผิดปกติ และทำให้ร่างกายมีอินซูลืนไม่เพียงพอ
- โรคเบาหวานในเด็กชนิดที่ 2 พบมากในเด็กที่น้ำหนักเกิน เด็กอ้วน ส่วนใหญ่พบในเด็กปลายวัยเจริญเติบโต เบาหวานชนิดนี้ทำให้ร่างกายของเด็กมีปัญหาดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมามากกว่าชนิดแรก
เด็กที่มีภาวะอ้วนเมื่ออายุเกิน 10 ปีขึ้นไปทุกคนควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
โรคเบาหวานในผู้สูงอายุหรือวัยทอง
ในสตรีวัยทอง สมดุลฮอร์โมนเพศหญิงจะแปรปรวนไป ทำให้เกิดอาการวัยทองต่างๆ เช่น ร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน ผิวพรรณเหี่ยวย่นเกิดริ้วรอยมากขึ้น และการขาดฮอร์โมนนี้เองจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง จึงควรพบแพทย์เพื่อปรับขนาดของยารักษาเบาหวานให้เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลต่ำเกินไป
การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่
การตรวจเจาะเลือดวัดค่าระดับน้ำตาล
ผู้ที่มีความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานไม่ว่าจะเป็นจากพันธุกรรม พฤติกรรมการรับประทานอาหาร หรือโรคประจำตัวต่างๆ ควรมีการตรวจวัดค่าอย่างสม่ำเสมอ ส่วนในผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงดังกล่าว แนะนำเริ่มตรวจอย่างน้อยเมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป และควรมีการตรวจซ้ำอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 3 ปีเป็นอย่างน้อย การตรวจสามารถทำได้โดย เข้าพบแพทย์เพื่อให้เจาะดูค่าระดับน้ำตาลในเลือด การเจาะเลือดตรวจดูระดับน้ำตาลด้วยตนเอง การตรวจคีโตน การตรวจค่าฮีโมลโกลบิน การตรวจวัดระดับน้ำตาลจากปัสสาวะ เป็นต้น บุคคลที่ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองเป็นประจำได้แก่
- สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยที่มีความเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่
- ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำมากเป็นพิเศษ
- ผู้ป่วยที่ระดับน้ำตาลควบคุมได้ยาก
- ผู้ป่วยที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำแต่ไม่แสดงอาการของภาวะน้ำตาลต่ำ
- ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องฉีดหรือรับประทานยาเบาหวาน
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด คือช่วงเวลาก่อนนอน และโดยปกติควรเจาะเลือดก่อนรับประทานอาหาร ในส่วนกรณีที่ต้องการตรวจสอบระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหารเพื่อตรวจสอบว่าน้ำตาลมีระดับเพิ่มขึ้นสูงผิดปกติหรือไม่ แนะนำให้เจาะในช่วง 1-2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร และที่สำคัญ เวลาที่ร่างกายรู้สึกผิดปกติ เช่น รู้สึกหน้ามืด จะเป็นลม มือสั่น ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ อ่อนเพลียซึมผิดปกติ หรือปัสสาวะบ่อยขึ้น ควรเจาะเลือดเพื่อวัดระดับน้ำตาลเพื่อให้รักษาป้องกันได้ทันท่วงทีหากมีสัญญาณผิดปกติ
ความถี่ที่เหมาะสมในการเจาะเลือดคือ
- ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ในช่วงที่ระดับน้ำตาลสูงต้องการเร่งควบคุม ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลวันละ 4 ครั้ง โดยแบ่งเป็นก่อนอาหาร 3 มื้อ และก่อนนอน และเมื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีขึ้นได้แล้ว จึงลดความถี่ลงมาเป็นอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง และเปลี่ยนเวลาเจาะเลือดเป็นหลังอาหาร เพื่อปรับอาหารให้เหมาะสม
- ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แนะนำเจาะเพียงแค่วันละ 1 ครั้ง โดยตรวจช่วงเวลาก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร หรือช่วงก่อนนอนก็ได้
สาเหตุโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้นเราต้องแบ่งตามชนิดของโรคเบาหวานดังต่อไปนี้
- เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes Immune-mediated/Insulin-dependent diabetes) ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ร่างกายจะไม่มีการสร้างอินซูลินหรือสร้างได้ในปริมาณน้อย ซึ่งเกิดจากการที่เซลล์ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกัน โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคในกลุ่มที่ภูมิต้านทานเสียสมดุลสูง มักจะมีรูปร่างผอมและมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่อายุน้อยกว่า 30 ปี
- เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes No insulin dependent) เบาหวานชนิดนี้เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistance) และมักจะเริ่มเป็นเมื่ออายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป โดยมักจะเป็นในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน อ้วน การควบคุมที่จะช่วยได้ดีจึงคือการออกกำลังกายลดความอ้วน
- โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ (Gestation diabetes)
- เบาหวานที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น จากพันธุกรรมถ่ายทอดจากครอบครัว เกิดจากผลข้างเคียงของยา หรือการติดเชื้อ เป็นต้น
อาการโรคเบาหวาน
ในช่วงเริ่มต้น ผู้ป่วยอาจไม่ได้มีอาการอะไรที่สังเกตได้ชัด แต่ในระยะต่อมาอาการเบาหวานเริ่มต้นที่มักสังเกตได้คือ ปัสสาวะบ่อย หิวเก่ง กินอาหารบ่อย ดื่มน้ำบ่อย แต่น้ำหนักลดลง เป็นต้น โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจำนวนมากมักมาเข้ารับการรักษาเมื่อมีอาการของโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานมากกว่าจะเป็นอาการจากโรคเบาหวานโดยตรง โดยอาการที่เกิดขึ้นจากโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือ การเกิดแผลเบาหวาน อาการสมองขาดเลือด โรคไตเสื่อม เป็นต้น โดยสรุปอาการโรคเบาหวานหลักๆได้แก่
- ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากเมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมีปริมาณสูง ร่างกายจะทำการขับขับน้ำตาลออกมาพร้อมปัสสาวะ จึงทำให้ผู้ป่วยมักปัสสาวะกลางดึก หรือช่วงกลางวันถี่กว่าคนปกติ โดยปัสสาวที่ถูกขับออกมาอาจพบได้ว่ามีมดมาตอมเพราะมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบสูง
- อาการหิวน้ำบ่อย เนื่องจากร่างกายต้องการขับน้ำตาลออกมาพร้อมปัสสาวะอยู่บ่อยครั้ง จึงทำให้เกิดการสูญเสียน้ำและอาการขาดน้ำ จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับน้ำทดแทนให้เพียงพอกับปริมาณที่ขับออกไป
- แผลเบาหวาน แผลหรือการติดเชื้อต่างๆจะหายช้ากว่าปกติ
- อาการชา ปลายประสาทเสื่อม หรือไม่มีความรู้สึก เช่นบริเวณปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ขาชา เป็นต้น
- สมรรถภาพทางเพศเสื่อม เนื่องจากเส้นประสาทเสื่อมนั่นเอง
- จอประสาทตาเสื่อม หรือเบาหวานขึ้นตานั่นเอง ซึ่งเกิดจากเส้นประสาทบริเวณจอตาเสื่อมเช่นเดียวกัน โดยมักจะมีอาการตาพร่า และอาจนำไปสู่โรคความเสื่อมทางจอตาหลายชนิด เช่น โรคต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อ จอประสาทตาเสื่อม สายตาสั้น เป็นต้น
- คันตามผิวหนัง ซึ่งมักเกิดจากการที่ผิวแห้งเกินไป
- หิวบ่อย กินเก่ง แต่น้ำหนักลด กล้ามเนื้อลด เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่รับประทานเข้าไปไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงานในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายจึงต้องไปดึงไขมันที่สะสมและโปรตีนในกล้ามเนื้อมาใช้สร้างพลังงานแทน รูปร่างจึงผอมลงและสูญเสียกล้ามเนื้อมากขึ้น
โรคแทรกซ้อนและอาการข้างเคียงของโรคเบาหวาน
โรคหัวใจและหลอดเลือด
จากสภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน มักส่งผลให้เกิดปัญหาหลอดเลือดและโรคหัวใจตามมา โดยจะทำให้หลอดเลือดแข็ง และส่งผลต่ออวัยวะส่วนนั้น เช่น ไตเสื่อม ชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า โรคหัวใจ อัมพฤกษ์อัมพาต เป็นต้น อีกทั้งผู้ป่วยหลายรายที่มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะอาการหลอดเลือดตีบที่นำไปสู่โรคร้ายแรงต่างๆ
โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานกับโรคความดันโลหิตสูงมีความเกี่ยวข้องกันและการเป็นโรคใดโรคหนึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นอีกโรคหนึ่งสูง โดยจะพบว่า 10-30% ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 30-50% ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย นอกจากนั้นยังพบว่า
- ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย มีโอกาสทำให้ไตเสื่อมไวขึ้น 2-3 เท่าจากปกติ
- ผู้ป่วยทั้งสองโรคนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคทางสมอง เบาหวานขึ้นตา จอประสาทตาเสื่อม โรคไต เพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
- จากการศึกษาสถิติพบว่า เมื่อค่าความดันโลหิตลดลงทุกๆ 10 มิลลิเมตรปรอท อัตราผู้ป่วยที่เกิดโรคแทรกซ้อนจะลดลงถึง 12% ลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 15%
โดยเมื่อผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับเบาหวาน จะเพิ่มความเสี่ยงเร่งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมาเพิ่มขึ้นอีกมาก โดยเฉพาะ โรคไตเสื่อม โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องระมัดระวังการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนของเบาหวานและความดันที่เป็นอันตรายต่างๆ
โรคไขมันในเลือดสูง
ส่วนมากจะพบได้ว่าผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย มักพบว่าค่าไตรกลีเซอไรด์ขึ้นสูง มีระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ต่ำ และระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (HDL) ปกติ ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูงจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดตีบ โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูงตามมา
โรคเบาหวานขึ้นตา
โรคเบาหวานขึ้นตาเป็นต้นเหตุทำให้เกิดความเสื่อมสภาพของจอประสาทตา ซึ่งนำไปสู่โรคจอประสาทตาเสื่อมที่รุนแรงหลายอย่าง เช่นโรคต้อกระจก ต้อหิน จนถึงกระทั่งตาบอดได้ทีเดียว โดยสาเหตุของโรคเกิดจากเซลล์บริเวณจอตาถูกทำลายและเสื่อมสภาพเนื่องจากสารอาหารและออกซิเจนจากเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ หลอดเลือดถูกทำลาย และมีน้ำเหลืองออกมา ซึ่งในกรณีที่เกิดพังผืดขึ้นมาอาจไปกระทบให้จอรับภาพหลุดออกมาจากเส้นประสาทและเป็นผลให้ตาบอดได้เลย
โรคไต
โรคไตเป็นโรคแทรกซ้อนที่สำคัญโรคหนึ่งที่น่ากลัว เนื่องจากเมื่อเป็นแล้วจะส่งผลให้ระบบร่างกายทั้งหมดแปรปรวน และโอกาสหายยาก ซึ่งจะนำไปสู่อาการไตวายได้ สาเหตุของโรคไตนี้เกิดมาจากการที่น้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ไตจำเป็นต้องทำงานหนักขึ้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรตรวจค่าปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอเพื่อดูค่าไตว่าผิดปกติหรือไม่ เพราะหากทิ้งไว้จนไตเสื่อมสภาพจะทำให้ยากต่อการฟื้นฟู
แผลเบาหวานที่เท้า
เนื่องจากเส้นเลือดบริเวณขาหรือปลายเท้าตีบ ส่งผลให้การส่งผ่านสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์บริเวณนั้นทำได้แย่ลง จึงทำให้มีความเสี่ยงของการเกิดโรคบริเวณขาและเท้าได้ง่าย โรคและอาการที่พบบ่อยคือแผลบริเวณเท้าหายยาก การติดเชื้อง่าย ชาบริเวณปลายเท้า และหากปล่อยไว้อาจถึงขั้นเท้าเน่าเนื่องจากเซลล์ตายและทำให้ต้องถูกตัดเท้าหรือตัดขาได้เลย
อาการปัสสาวะบ่อย
เนื่องจากเลือดมีระดับน้ำตาลสูง ร่างกายจึงจำเป็นต้องขับออกมาพร้อมปัสสาวะ จึงทำให้เกิดอาการหิวน้ำ และต้องขับปัสสาวะบ่อยทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน ในผู้ที่คุมเบาหวานอยู่ เมื่อเห็นมีอาการปัสสาวะบ่อยผิดปกติจึงควรรีบตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อแก้ไขให้ทันท่วงที
การรักษาโรคเบาหวาน
นอกจากการใช้ยาแล้ว หลักสำคัญของการรักษาที่ต้นเหตุของเบาหวานคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อรักษาสุขภาพมากขึ้น เช่นการออกกำลังกาย นอนหลับ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เป็นต้น หรือแบ่งเป็นหัวข้อได้ดังนี้
ออกกำลังกายสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน
การออกกำลังกายจะเป็นผลดีมากโดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมักมีน้ำหนักเกิน อ้วน ไขมันคอเลสเตอรอลสูง การออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญไขมันและน้ำตาลส่วนเกินจึงช่วยคุมเบาหวานได้เป็นอย่างดี การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้การตอบสนองของอินซูลินมีประสิทธิภาพขึ้น การออกกำลังกายที่ดีควรมีการวอมอัพเตรียมพร้อมร่างกายก่อน ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอและต่อเนื่องอย่างน้อย ครึ่งชั่วโมง ช่วงเวลาที่แนะนำคือช่วงเย็นและควรออกกำลังกายในช่วงเวลาเดียวกันทุกวัน หลีกเลี่ยงการออกกำลังหลังรับประทานอาหาร และสังเกตร่างกายอยู่ตลอดเวลา หากมีอาการผิดปกติ รู้สึกหน้ามืดจะเป็นลม หรือหัวใจเต้นแรงเกินควร ควรรีบพักทันที ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในการออกกำลังกาย
- ควรระวังไม่ให้เกิดแผลเป็น และตรวจสอบบริเวณเท้าว่ามีการอักเสบหรือแผลเป็นใดๆหรือไม่ก่อนออกกำลังกาย
- เตรียมน้ำดื่มติดตัว และดื่มน้ำให้เพียงพอ
- การฉีดอินซูลินไม่ควรฉีดในบริเวณส่วนร่างกายที่มีการเคลื่อนไหวเยอะ แนะนำใช้บริเวณหน้าท้อง และหลังจากฉีดอินซูลินแล้วควรหลีกเลี่ยงไม่ควรออกกำลังในช่วงที่ยามีการออกฤทธิ์สูงสุด
- นอกจากนั้นควรมีการลดขนาดการใช้อินซูลินลงขณะออกกำลังเพื่อป้องกันการมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แนะนำลดลง 1 ใน 3 ส่วนของขนาดปกติที่ใช้
- ระวังไม่ให้มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงเกินไประหว่างออกกำลังกาย เนื่องมาจากการใช้อินซูลิน โดยในเบาหวานชนิดที่ 1 ไม่ควรเกิน 250 มิลลิกรัม% และในเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่ควรเกิน 300 มิลลิกรัม แนะนำพกน้ำตาลติดตัวเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำฉุกเฉิน
อย่างไรก็ตามแม้ว่าการออกกำลังกายจะได้ผลที่ดีมากในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มีข้อระวังหลายด้าน โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้กระบวนการหลั่งฮอร์โมนได้เสียสมดุลไปทำให้หลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่พอ ดังนั้นหากออกกำลังกายหนักและทำให้มีการหลั่งอะดรีนาลีนมากอาจะเกิดภาวะคีโตซิส (Ketoacidosis) ซึ่งคือภาวะที่เลือดเป็นกรดได้ จึงควรระวังเพิ่มขึ้น
การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานหลายคนมีโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง จึงควรสังเกตสภาวะของร่างกายอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันก่อนเกิดอันตรายขึ้น โดยมีหลักดังนี้
- ในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลสูงมาก ควรมีการตรวจวัดระดับน้ำตาลบ่อยครั้ง หรือประมาณ 4 ชั่วโมงครั้ง และในกรณีที่มีค่าน้ำตาลสูงเกิน 240 มิลลิกรัม% ควรรีบตรวจปัสสาวะเพื่อดูค่าคีโตน
- ผู้ป่วยควรชั่งน้ำหนักเป็นประจำทุกวัน และถ้าสังเกตได้ว่าน้ำหนักตัวลดลงแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้เป็นปกติ จะเป็นสัญญาณได้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นสูง ควรรีบตรวจปัสสาวะดูค่าคีโตน
- หากรู้สึกไม่อยากอาหาร ควรพยายามรับประทานอาหารอ่อน หรืออาหารเบาๆ เช่น น้ำผลไม้ ซุป เพื่อรับประทานยา หรือในช่วงที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ก็ยังควรทานหรือฉีดยาอย่างต่อเนื่อง
- ควรวัดอุณภูมิร่างกายในช่วงเช้าและเย็น หากอุณภูมิในร่างกายสูงอาจเป็นสัญญาณว่ามีการติดเชื้อ
- ผู้ป่วยควรดื่มน้ำบ่อยครั้ง โดยควรดื่มทุกๆ 1 ชั่วโมง ครั้งละประมาณครึ่งแก้ว
- หากตรวจพบว่ามีค่าคีโตนในปัสสาวะสูง หรือมีอาการผิดปกติ เช่น อาเจียนบ่อย น้ำหนักลดลงมากกว่า 2 กิโลกรัม มีอาการท้องร่วงรุนแรง พบว่าระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำกว่ามาตราฐานมากต่อเนื่องเกินสองครั้ง (ต่ำกว่า 60 มิลลิกรัม% หรือสูงเกิน 300 มิลลิกรัม%) อุณหภูมิในร่างกายขึ้นสูง อ่อนเพลียซึมเซาผิดปกติ หรือไม่ทานอาหารนานกว่า 6 ชั่วโมง ควรรีบพบแพทย์ทันที
ยารักษาโรคเบาหวาน
การรับประทานยาเบาหวานสามารถช่วยในการลดระดับน้ำตาลอย่างเร่งด่วน แต่ในระยะยาวเราจำเป็นจะต้องดูแลสุขภาพตัวเองด้วยวิธีการควบคุมอาหารและสร้างพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพจึงจะสามารถรักษาเบาหวานที่ต้นเหตุได้ ดังนั้นการรับประทานยารักษาโรคเบาหวานจึงควรทำร่วมกับการดูแลสุขภาพตัวเองด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังจึงจะทำให้ร่างกายดีขึ้นได้ในระยะยาว
กลุ่มยาเบาหวาน ยาลดน้ำตาลในเลือดที่ใช้กันในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
- ยาเสริมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอินซูลิน (Agents enhancing the effectiveness of Insulin) ได้แก่ Metformin, Troglitazone, Acarbose โดยยาประเภทนี้จะเพียงช่วยให้อินซูลินทำงานดีขึ้น แต่จะไม่ได้เพิ่มจำนวนอินซูลินจึงไม่ทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ยาเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Agents augmentating the supply of Insulin) ได้แก่ Insulin, Sitagliptin, Repaglinide, Sulfonylurea โดยจะทำหน้าที่เพิ่มปริมาณการหลั่งอินซูลินในร่างกาย และหากใช้มากเกินไปจนทำให้อินซูลินในร่างกายไม่สมดุลจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
ยาอินซูลิน (Insulin) คือยาที่ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนอินซูลิน เป็นยาที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ทุกราย และเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเบาหวานชนิดอื่นๆหรือมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาชนิดอื่นที่ทนผลข้างเคียงนั้นไม่ไหว นอกจากนี้ยังเหมาะกับผู้ป่วยที่ระดับน้ำตาลขึ้นสูงอย่างรวดเร็วต้องการความเร่งด่วนในการลดระดับน้ำตาล (ระดับน้ำตาลมากกว่า 250 มิลลิกรัม%) โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่เป็นโรคไต โรคตับร่วมด้วย และผู้ที่ร่างกายมีภาวะการติดเชื้อ แผลเบาหวานต่างๆ
ข้อปฏิบัติในการรับประทานยารักษาโรคเบาหวาน
- รับประทานยาอย่างตรงตามเวลาที่กำหนด รักษาวินัยให้ทานยาสม่ำเสมอ ตรงตามมื้ออาหาร
- เรียนรู้วิธีการป้องกันและแก้ไขหากเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- เรียนรู้และป้องกันการเกิดโรคและอาการแทรกซ้อนต่างๆ
- งดเว้นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
คำถามเกี่ยวกับวิธีรับประทานยาเบาหวาน
ผู้ที่ตั้งครรภ์ควรรับประทานยาเบาหวานอย่างไร
แพทย์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์อยู่รับประทานยาที่ไม่ส่งผลเสียต่อบุตรในครรภ์ ดังนั้นทันทีที่ผู้ป่วยทราบว่าตั้งครรภ์ ควรรีบแจ้งแพทย์ให้เปลี่ยนยาให้ทันที โดยจะมีการเปลี่ยนให้รับประทานเป็นอินซูลินแทน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อบุตร
ผู้ที่ร่างกายอยู่ในสภาวะเจ็บป่วยควรรับประทานยาเบาหวานต่อหรือไม่
สภาพร่างกายที่เกิดความเครียดจากการเจ็บป่วย จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จึงยังจำเป็นต้องรับประทานยาลดระดับน้ำตาลอยู่ โดยถึงแม้ยังไม่อาจรับประทานอาหารในปริมาณมากเท่าปกติ แต่แค่เพียงรับประทานเล็กๆน้อยๆ เช่น น้ำผลไม้ ซุป ก็เพียงพอที่จะรับประทานยาเบาหวานแล้ว
หากมื้อไหนลืมรับประทานยาเบาหวานควรทำอย่างไร
หากห่างจากเวลาที่ควรรับประทานไม่เกิน 2 ชั่วโมง ก็สามารถรับประทานยาในตอนนั้นได้ทันที และไม่จำเป็นต้องเพิ่มยาในมื้อถัดไป แต่หากเกิน 2 ชั่วโมงไปแล้วก็ให้ข้ามมื้อนั้นและรับประทานในมื้อถัดไปได้ตามปกติเลย
ในผู้ที่รับประทานอาหารไม่เป็นเวลาควรรับประทานยาเบาหวานอย่างไร
ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือถ้าไม่สามารถควบคุมได้จริงๆ ควรพกเครื่องดื่มหรือขนมปังเล็กๆ เพื่อรับประทานให้สามารถทานยาได้ แต่ถ้าไม่สามารถแทรกการทานในช่วงระหว่างวันได้จริงๆ แนะนำรับประทานยากลุ่ม Repaglinide
ในมื้อที่ทานอาหารเยอะกว่าปกติควรเพิ่มปริมาณยาหรือไม่
โดยพื้นฐานเราควรควบคุมปริมาณอาหารให้ไม่มากหรือน้อยเกินไปในแต่ละมื้อ เพราะจะทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทำได้ยาก แต่หากไม่สามารถทำได้ แนะนำรับประทานยากลุ่ม Repaglinide ซึ่งสามารถปรับเพิ่มลดปริมาณยาตามขนาดของมื้ออาหารที่เรารับประทานได้
อาหารสำหรับโรคเบาหวาน
ตัวผู้ป่วยเบาหวานมีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูรักษาจากโรคเบาหวานมากที่สุด โดยหน้าที่สำคัญคือการควบคุมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของตัวเอง โดยมีเป้าหมายสำคัญคือเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่อันตรายต่างๆ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูจากโรคได้นั่นเอง โดยมีหลักการควบคุมอาหารโดยพิจารณาจากปริมาณพลังงานที่ได้รับ เรามักจะเข้าใจกันว่าระดับน้ำตาลในเลือดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลที่เรารับประทานเข้าไป แต่ความจริงแล้วระดับน้ำตาลในเลือดนั้นยังขึ้นอยู่กับปริมาณพลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปทั้งหมดอีกด้วย ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยหลายท่านบอกว่าช่วงนี้ไม่ได้รับประทานอาหารหวานหรือกลุ่มแป้งเข้าไปมากเลย แต่ทำไมระดับน้ำตาลถึงขึ้นสูง จึงเห็นได้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดนั้นแปรผันกับปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายได้รับไม่ใช่แค่จากน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานและอาหารหลายชนิดที่จะช่วยฟื้นฟูร่างกายได้ เราจึงควรใส่ใจและศึกษาเพื่อดูแลสุขภาพของเราให้สมบูรณ์ อ้างอิง : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานคืออะไร เบาหวานเป็นโรคยอดฮิตที่ไม่ว่าใครๆก็คงจะรู้จัก โรคเบาหวานนี้เป็นได้ทุกเพศทุกวัย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอายุเข้า 40 ปีเป็นต้นไป ยิ่งหากเราไม่ระมัดระวังรูปร่างของเราเอง ไม่ระวังการรับประทานให้ดี ไม่ออกกำลังกาย ส่งผลให้ไขมันสะสม น้ำหนักเกิน คุณก็จะยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากยิ่งขึ้น
เบาหวานเกิดจากสาเหตุอะไร เบาหวานมีสาเหตุได้หลายปัจจัย ปัจจัยอย่างแรกคือพันธุกรรมที่ตกทอดมาจากพ่อและแม่ ถ้าทั้งพ่อและแม่ของเราเป็นโรคเบาหวาน เราก็จะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น ส่วนสาเหตุด้านอื่นที่สำคัญคือการที่เรามีน้ำหนักเกิน คนอ้วนจะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมากกว่า ในผู้ที่มีลูกเป็นจำนวนมากก็จะมีภาวะเสี่ยงมากกว่า เนื่องจากผู้ที่ตั้งครรภ์จะมีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานสูงขึ้น และการทานยาประเภทสเตียรอยด์หรือยาประเภทลูกกลอน ก็จะเพิ่มความเสี่ยงเช่นกัน
ในกระบวนการย่อยอาหารปกติ เมื่อเรารับประทานอาหารประเภทแป้งหรือน้ำตาลเข้าไป อาหารจะเข้าไปย่อยที่กระเพาะอาหารให้มีขนาดโมเลกุลที่เล็กลง แล้วจึงส่งต่อไปยังลำไส้เล็กเพื่อย่อยให้มีโมเลกุลเล็กลงไปอีก โดยตับอ่อนและน้ำดีจากตับจะผลิตน้ำย่อยออกมา เมื่ออาหารได้รับการย่อยเรียบร้อยก็จะส่งต่อไปทางเส้นเลือดเพื่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายนั่นเอง และเมื่อเวลาที่เราทานน้ำตาลหรืออาหารประเภทแป้งจำนวนมากก็จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และตับอ่อนก็จะสร้างฮอร์โมนอินซูลินแล้วเข้าสู่กระแสเลือด ไปตามเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย อินซูลินจะช่วยนำน้ำตาลไปใช้ในการสร้างพลังงานให้เซลล์เหล่านั้น โดยอินซูลินจะหลั่งออกมามากน้อยตามระดับของน้ำตาลในเลือดเพื่อคงสภาวะร่างกายให้ได้สมดุล
แต่เมื่อตับอ่อนทำงานผิดปกติ ไม่สามารถสร้างผลิตฮอร์โมนอินซูลินหรือผลิตได้ไม่มีประสิทธิภาพ เมื่ออินซูลินมีปัญหา หรือร่างกายดื้อต่ออินซูลิน จะส่งผลให้ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้เท่าที่ควร ทำให้น้ำตาลตกเหลือคั่งค้างอยู่ในกระแสเลือดเป็นปริมาณมาก และปนออกมากับปัสสาวะ อวัยวะไตจะทำการกรองของเสียที่อยู่ในเลือดของเรา หากมีน้ำตาลคั่งค้างอยู่แล้วกรองน้ำตาลกลับไปใช้งานได้ไม่หมด หรือกรองไม่ได้เลย จึงออกมากับปัสสาวะ ปัสสาวะจึงมีรสหวาน และอาจสังเกตได้จากมีมดมาตอมปัสสาวะ คนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานจึงไม่มีส่วนประกอบของน้ำตาลในปัสสาวะ คนที่มีน้ำตาลในเลือดสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เลือดเข้มข้น หลอดเลือดเสื่อมสภาพ ส่งผลเสียต่อร่างกาย และเกิดโรคแทรกซ้อนได้อีกมากมาย
และอีกสาเหตุหนึ่งที่มักเกิดในคนที่น้ำหนักเกินคือ การดื้อของเซลล์ต่ออินซูลิน ซึ่งมักจะเกิดกับคนที่อ้วน ในกรณีนี้ถึงแม้ว่าจะตับอ่อนจะสามารถผลิตอินซูลินได้มากพอ แต่เซลล์กลับไม่ยอมให้อินซูลินทำงานในกระบวนการดึงน้ำตาลไปใช้ ส่งผลให้น้ำตาลคั่งค้างอยู่ในหลอดเลือดเช่นเดียวกัน คนที่เป็นเบาหวานจะปัสสาวะบ่อยเนื่องจากไตต้องกรองน้ำตาลส่วนเกินออกมาพร้อมกับน้ำในปริมาณที่มากกว่าคนปกติ จึงทำให้ร่างกายขาดน้ำ รู้สึกกระหายน้ำบ่อยๆ และปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน เราจึงสังเกตได้ง่ายๆว่า คนที่เข้าปัสสาวะบ่อยๆในตอนกลางคืนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน
เมื่อร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้สร้างพลังงานได้ จึงจำเป็นต้องใช้ทดแทนจากอย่างอื่น เช่น ไขมัน และโปรตีน คนที่เป็นเบาหวานจึงอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง และร่างกายผอมลง แม้ว่าจะกินอาหารในปริมาณปกติ หรือกินมากกว่าเดิมก็ยังไม่ได้รับพลังงานที่เพียงพอ และน้ำตาลส่วนเกินก็ยิ่งไปทำร้ายร่างกายมากขึ้นทุกวันๆ เมื่อน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเข้า ก็จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้หลายชนิด เช่น หลอดเลือดเสื่อมสภาพ หลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไตวาย สายตาพร่ามัว เส้นประสาทเสื่อม เกิดอาการเหน็บชา ชามือ ชาเท้า เป็นต้น แม้ว่าโรคเหล่านี้จะน่ากลัว แต่อย่างไรก็ตามหากเราดูแลตัวเองให้ถูกวิธี เราก็จะสามารถป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและในผู้ที่เป็นเบาหวานแล้วก็สามารถป้องกันและฟื้นฟูจากโรคแทรกซ้อนได้
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้คือความเสี่ยงจากพันธุกรรม เบาหวานสามารถสืบทอดได้ทางพันธุกรรม โดยเฉพาะหากบิดามารดาของเราเป็นโรคเบาหวานเราก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานมากยิ่งขึ้น
ส่วนความเสี่ยงด้านปัจจัยภายนอกคือ 1. อายุ ในผู้ที่อายุมาก โดยเฉพาะเมื่อเลย 40 ปีเป็นต้นไป เซลล์ต่างๆในร่างกายก็จะเสื่อมสภาพลง เป็นสาเหตุให้การทำงานต่างๆของอวัยวะต่างๆในร่างกายเริ่มไม่เป็นปกติเหมือนวัยหนุ่มสาว ตับอ่อนก็เป็นอวัยวะหนึ่งในนั้น เมื่ออวัยวะตับอ่อนทำงานได้แย่ลง การผลิตอินซูลินก็ทำงานได้แย่ลงเช่นกัน ส่งผลให้ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่มากเท่าที่ควร หรือไม่มีประสิทธิภาพพอ ร่างกายจึงไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ดีเท่าเก่า ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน 2. สตรีที่ตั้งครรภ์อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์หลายครั้งหรือมีลูกหลายคน หรือมีครรภ์ผิดปกติ คลอดลูกผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมากกว่าปกติ 3. ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน อ้วน จะขัดขวางการนำน้ำตาลไปใช้ ทำให้น้ำตาลคั่งค้างในกระแสเลือดมากและทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานสูง 4. เป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือ ไขมันในเลือดสูง
ประเภทของโรคเบาหวาน โรคเบาหวานประเภทที่ 1 หรือเรียกว่า เบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งฮอร์โมนอินซูลิน โรคเบาหวานชนิดนี้พบได้ส่วนใหญ่ในเด็กและวัยรุ่น ไม่ค่อยพบในผู้ใหญ่ ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดนี้ัตับอ่อนจะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ ต้องฉีดฮอร์โมนอินซูลินไปตลอดชีวิต และต้องฉีดทุกวัน เพราะหากขาดฮอร์โมนอินซูลินจะทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงมาก หรือที่เรียกว่าคีโตซิส ซึงเป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการเซื่องซึม เหนื่อยหอบ ไม่มีแรง อ่อนเพลีย ตัวร้อน คลื่นไส้อาเจียน ปากและลิ้นแห้งและหมดสติได้ ต้องรีบนำไปโรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือและฉีดฮอร์โมนอินซูลินให้กับผู้ป่วยอย่างเร่งด่วน
โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หรือเรียกว่า เบาหวานชนิดที่ไม่ต้องพึ่งฮอร์โมนอินซูลิน โรคเบาหวานชนิดนี้เป็นชนิดที่พบบ่อยครั้งที่สุด ผู้เป็นส่วนใหญ่มีภาวะน้ำหนักเกิน และอายุมากกว่า40ปีขึ้นไป แต่ก็มีวัยรุ่นหรือเด็กที่น้ำหนักเกินก็เป็นได้เช่นกัน โรคเบาหวานชนิดนี้สามารถดูแลฟื้นฟูตัวเองได้ ไม่จำเป็นจะต้องฉีดอินซูลินช่วย ยกเว้นในกรณีทีระดับน้ำตาลในหลอดเลือดขึ้นถึงขีดอันตรายหรือเกิดโรคแทรกซ้อนที่จำเป็นต้องฉีดอินซูลินช่วย
ผู้เป็นโรคเบาหวานมีอาการอย่างไรบ้าง 1. ปัสสาวะมีรสหวาน อย่างไรก็ตามคุณไม่จำเป็นต้องชิมเพื่อทดสอบ แต่เพียงสังเกตุว่าถ้ามีมดตอมแสดงว่าปัสสาวะมีส่วนประกอบของน้ำตาลอยู่ หรือสามารถตรวจเช็คระดับน้ำตาลในปัสสาวะได้หลายวิธี ไม่ว่าจะทดสอบด้วยตัวเอง หรือปรึกษาแพทย์ 2. ปัสสาวะบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะกลางดึกหลายรอบ 3. อาการเหน็บชา ชาตามมือตามเท้า ไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องจากเส้นปลายประสาทเริ่มเสื่อม และการหมุนเวียนของเลือดทำได้แย่ลงนั่นเอง 4. มีอาการคอแห้ง หิวน้ำบ่อย เนื่องจากสูญเสียนิ้ำไปกับปัสสาวะในปริมาณมาก 5. รู้สึกหิวบ่อยๆเพราะร่างกายขาดพลังงาน ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ 6. ตัวผอมลง ทั้งๆที่ทานในปริมาณปกติหรือทานมากกว่าเดิม เพราะร่างกายขาดพลังงานและต้องดึงพลังงานจากอย่างอื่นไปใช้แทน 7. รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง เหนื่อยง่าย เนื่องจากขาดพลังงานนั่นเอง 8. คันตามตัว คันที่ช่องคลอด โดยไม่มีสาเหตุ 9. สายตาพร่ามัว เพราะเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงดวงตาเริ่มเสื่อม ซึ่งนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงขั้นตาบอดได้ 10. อาจจะมีฝีขึ้นบ่อยๆ ตามหลัง ต้นคอ โดยเฉพาะฝีฝักบัว
เราเป็นเบาหวานหรือไม่ ตรวจสอบได้อย่างไร
1. วิธีตรวจปัสสาวะเพื่อทดสอบเบาหวาน การตรวจสอบปัสสาวะเราสามารถทำได้เองหรือตรวจกับคลีนิกโรงพยาบาลก็ได้แล้วแต่ความสะดวก วิธีการตรวจสอบมีหลายวิธี ตัวอย่างเช่นการทดสอบด้วยแผ่นทดสอบ วิธีคือนำแผ่นทดสอบจุ่มน้ำปัสสาวะ แล้วเมื่อนำขึ้นมาก็นำไปเปรียบเทียบสีเพื่อบอกระดับน้ำตาลในปัสสาวะ โดยปัสสาวะที่เตรียมมาทดสอบต้องใหม่ ควรตรวจก่อนรับประทานอาหาร หรืออย่างน้อย 6 ชั่วโมงหลังทานอาหาร มิฉะนั้นระดับน้ำตาลจะคลาดเคลื่อนได้ ค่าที่ออกมาจากการตรวจ ถ้ามีระดับมากกว่าบวกหนึ่ง แสดงว่าเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม มีกรณียกเว้นบางกรณีที่ทำให้ผู้ที่เป็นเบาหวานตรวจไม่พบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่นในผู้ป่วยที่เป็นโรคไต หรือ ผู้ที่มีอายุมาก และตรงกันข้าม ในผู้หญิงตั้งครรภ์บางคนจะมีตรวจพบระดับน้ำตาลในปัสสาวะสูง แต่กลับไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ดังนั้นวิธีนี้สามารถตรวจสอบได้แบบคร่าวๆเท่านั้น หากต้องการผลการตรวจสอบที่แน่นอนจึงควรใช้วิธีตรวจเลือดแทน
2. วิธีตรวจเลือดเพื่อทดสอบเบาหวาน การตรวจเลือดเพื่อทดสอบเบาหวานจะแบ่งได้เป็นสองรูปแบบ คือ แบบแรกจะต้องงดอาหารมาเป็นระยะเวลาอย่างน้อยแปดชั่วโมงก่อนการตรวจเลือด นิยมตรวจกันในช่วงเช้าเพื่อนับเวลางดอาหารต่อมาจากช่วงเวลานอนหลับ ซึ่งง่ายและดีต่อสุขภาพมากกว่างดอาหารในช่วงระหว่างวัน โดยการตรวจสอบจะเจาะหลอดเลือดดำ หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 126 มิลลิกรัมต่อปริมาณเลือด 100 มิลลิลิตร แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน หากอยู่ในช่วง 100-126 มิลลิกรัมต่อปริมาณเลือด 100 มิลลิลิตรแสดงว่ามีความเสี่ยงอยู่ ซึ่งยังไม่แน่ชัด และอาจจำเป็นต้องตรวจซ้ำ แต่หากต่ำกว่า 100มิลลิกรัมต่อปริมาณเลือด 100 มิลลิลิตร แสดงว่าไม่ได้เป็นเบาหวาน แบบที่สองจะตรวจเลือดหลังจากรับประทานอาหารมาแล้วสองชั่วโมง โดยหากผลการตรวจมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 200 มิลลิกรัมต่อปริมาณเลือด 100 มิลลิลิตรแสดงว่าเป็นเบาหวานนั่นเอง
กินอะไร กินอย่างไร สำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน
ในปัจจุบันปัญหาใหญ่ของคนเป็นโรคเบาหวาน คงหนีไม่ผลเรื่องอาหารการกิน… มักจะเกิดคำถามขึ้นเป็นประจำว่า “คนเป็นเบาหวาน กินอันนั้นได้ไหม๊ อันนี้ดีไหม๊” และมักจะมีความเชื่อที่ว่า “สาเหตุของโรคเบาหวานมาจากน้ำตาล” คราวนี้ถึงเวลาที่เราจะมารู้กันแล้วว่ามันจริงหรือเปล่า ว่า...