โรคเก๊าท์คืออะไร
อาการโรคเก๊าท์ สาเหตุ และวิธีรักษาโรคเก๊าท์ให้หายขาด
โรคเก๊าท์ (Gout) คือโรคที่อยู่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคปวดข้อ ข้ออักเสบซึ่งเกี่ยวพันกับกรดยูริคในกระแสเลือด โรคชนิดนี้จะพบได้มากเป็นพิเศษในผู้ชายซึ่งจะมากกว่าผู้หญิงเกือบ 10 เท่าเนื่องจากผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยขับกรดยูริคออกจากร่างกาย และโรคเก๊าท์นี้จัดว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคชราภาพหรือโรคที่เกิดจากร่างกายเสื่อมสภาพลง และประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลงไป ซึ่งประสิทธิภาพที่ว่านี้คือกระบวนการการขับกรดยูริคออกจากร่างกายทำงานได้แย่ลงทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคตามข้อ ส่งผลให้เกิดอาการปวดบวมแดงอักเสบการบริเวณข้อต่อ ซึ่งเป็นอาการของโรคเก๊าท์นั่นเองสาเหตุของโรคเก๊าท์คืออะไร
โรคเก๊าท์มีสาเหตุเกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบร่างกายในกระบวนการขับกรดยูริคออกไป ทำให้เกิดการสะสมคั่งค้างของกรดยูริคในกระแสเลือด แล้วไปสะสมตามข้อต่อบริเวณต่างๆ จนเกิดอาการปวดบวมและอักเสบขึ้นมา โดยสรุปโรคเก๊าท์คือเกิดจากการที่การขับกรดยูริคออกไม่สมดุลกับการผลิตกรดยูริคที่อยู่ในร่างกายนั้นเอง
กรดยูริค (Uric acid) คืออะไร
กรดยูริคคือสารที่ร่างกายได้ออกมาจากกระบวนการเผาผลาญสารอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยเฉพาะกระบวนการย่อยสลายสารอาหารกลุ่มโปรตีนซึ่งเมื่อสลายแล้วจะได้ออกมาเป็นสารพิวรีนและจะมีกรดยูริคเกิดขึ้นด้วย
สภาวะการมีกรดยูริคสูงเกิดจากกระบวนการขับออกที่ผิดปกติอีกทั้งยังมีกรดยูริคสูงเข้าไปเพิ่มจำนวนมากทำให้ร่างกายเสียสมดุลไป กระบวนการขับกรดยูริคออกตามกระบวนการทางธรรมชาติของร่างกายมี 2 ช่องทางคือ
- ขับออกทางไต – โดยส่วนใหญ่มากกว่า 2 ใน 3 ของกรดยูริคทั้งหมดจะถูกขับออกในช่องทางนี้
- ขับออกทางระบบทางเดินอาหาร – การขับกรดยูริคออกในช่องทางนี้จะน้อยกว่าช่องทางแรก
ระดับกรดยูริคค่าปกติควรอยู่ที่เท่าไหร่
โดยมาตรฐานแล้วในเพศชายไม่ควรจะมีค่าสูงกว่า 7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ส่วนในผู้หญิงไม่ควรจะมากกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
อย่างไรก็ตามค่ากรดยูริคปกติอาจมีการแปรผันตามช่วงวัย โดยในวัยเด็กระดับกรดยูริคจะไม่สูงมากมาตรฐานอยู่ที่ 3.5 ถึง 4.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรแต่เมื่อโตขึ้นระดับข้า pewdie จะสูงขึ้นโดยในวัยรุ่นผู้ชายมาตรฐานจะอยู่ที่ 4.5 ถึง 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรจะได้เด็กผู้หญิงจะเท่าเดิมคือ 3.5 ถึง 4 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เพราะว่าเด็กผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนซึ่งจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้นซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีคุณสมบัติในการขับกรดยูริคออกจากร่างกาย โดเรดับมาตรฐานกรดยูริกในร่างกายของผู้หญิงจะสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงหลังหมดประจำเดือนหรือช่วงวัยทองเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนมีค่าลดลง จึงทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าเพิ่มขึ้นในช่วงหลังหมดประจำเดือนนั่นเอง
เราเป็นโรคเก๊าจริงหรือโรคเก๊าท์เทียม?
โรคเก๊าท์เทียม (Pseudogout) คืออะไร
โรคเก๊าท์เทียมคือโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกผลึกสารส้มของเกลือแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรตและส่งผลต่ออาการปวดข้อ ข้ออักเสบ โรคนี้จะมีอาการคล้ายกับโรคเก๊าท์แต่ว่าสาเหตุแตกต่างกัน จึงเรียกว่าเป็นเก๊าท์เทียมนั่นเอง
อาการของโรคเก๊าท์เทียมเช่นอาการปวดข้อที่เป็นเป็นหายหายต่อเนื่อง มีอาการปวดขึ้นมาฉับพลันทันทีทันใดเหมือนกับอาการของโรคเก๊าท์ นอกจากนั้นอาจจะมีอาการปวดเรื้อรังคล้ายโรคข้อเข่าเสื่อมหรืออาการอักเสบของข้อเป็นประจำที่คล้ายกับโรครูมาตอยด์ นอกจากนี้อาการอย่างอื่นเช่นอาการปวดต้นคอ หรือในบางคนอาจจะไม่แสดงอาการแต่จะมีระดับการตกผลึกข้างทางของผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรตในปริมาณสูงกว่ามาตรฐาน
ทางการแพทย์วินิจฉัยว่าเราเป็นโรคเก๊าจริงหรือเก๊าท์เทียมด้วยการเจาะคอและดูดน้ำไปตรวจสอบผ่านกล้องจุลทรรศน์ว่าสารที่สะสมอยู่บริเวณข้อเป็นสารชนิดไหน โดยหากว่าเป็นสารแคลเซียมไพโรฟอสเฟตแสดงว่าเราเป็นโรคเก๊าท์เทียม และหากเป็นกรดยูริคแสดงว่าเราเป็นโรคเก๊าท์
สิ่งกระตุ้นและอาจะเป็นสาเหตุให้ปวดเก๊าท์มากขึ้น
- การใช้ยาในบางกลุ่มเช่นยาแอสไพริน ยา hydrochlorothiazide ยา cyclosporine ยา levodopa เป็นต้น
- ไตอ่อนแอทำงานผิดปกติ เป็นนิ่วในไต ไตเสื่อมไตวาย กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ครอบครัวมีคนเป็นโรคเก๊าท์ สืบเนื่องทางกรรมพันธุ์
- อาการเจ็บไข้ได้ป่วย สุขภาพอ่อนแอ ร่างกายติดเชื้อ
- น้ำหนักเกินมาตรฐานเป็นโรคอ้วน
- เป็นผลแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังอันอื่นโดยเฉพาะโรคความดันสูง เบาหวาน ไขมันในหลอดเลือดสูงโรคหัวใจโรคธาลัสซีเมียโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อเช่นไฮโปไทรอยด์โรคมะเร็งเป็นต้น
- การทานอาหารที่มีกรดยูริคสูง อาหารแสลงโรคเก๊าท์ เช่นสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ผักที่มีกรดยูริคสูงเป็นต้น รายการทานอาหารในปริมาณเยอะๆ
- การดื่มเหล้าแอลกอฮอล์เป็นประจำโดยเฉพาะเบียร์
- ในเพศชายมีความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิง คำถามที่มักถามกันว่าผู้หญิงเป็นเก๊าได้ไหม จึงตอบว่าได้ แต่โอกาสน้อยกว่าผู้ชายมากนั่นเอง
- ช่วงที่อากาศแปรปรวนโดยเฉพาะอากาศเย็นอากาศหนาวหรือฝนตก
อาการโรคเก๊าท์เป็นอย่างไร
ผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะมีหลายอาการ โดยอาการหลักที่เด่นชัดที่สุดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาการปวดนี้อาจจะเป็นเพียงแค่ข้อเดียวหรือว่าเป็นหลายๆข้อพร้อมกัน โดยข้อต่อที่ปวดได้แก่ ปวดข้อนิ้วเท้า โดยเฉพาะอาการปวดนิ้วหัวแม่เท้าเป็นอาการที่พบได้บ่อย นอกจากนี้อาจจะปวดได้ตั้งแต่ ข้อมือ ข้อศอก ข้อไหล่ ข้อนิ้วมือ ข้อเท้า เป็นต้น ซึ่งอาการปวดโดยส่วนใหญ่จะเริ่มจากเพียงข้อเดียว แล้วหากไม่ได้รับการดูแลรักษาแก้ไข บริเวณที่ปวดก็จะเพิ่มขึ้นได้จาก 1 ข้อเป็น 2 ข้อเป็น 3 ข้อ เป็นต้น
ลักษณะอาการปวดเก๊าท์
สิ่งที่ทรมานที่สุดสําหรับคนเป็นเก๊าคืออาการปวด โดยเริ่มต้นหากพึ่งเป็นอาจจะมีอาการปวดไม่มากและระยะเวลาไม่นานก็หายไปเอง แต่เมื่อปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาอาการปวดมักจะเป็นถี่ขึ้นเรื่อยๆ จากปกติอาจจะเป็น 2 ปีครั้งอาจจะเพิ่มเป็นปีละ 2 3 ครั้ง เดือนละสองสามครั้ง ไปจนถึงเป็นต่อเนื่องแทบตลอดเวลาเลยก็ได้
นอกจากอาการปวดแล้วอาจจะมีอาการอักเสบบวมแดงและร้อนบริเวณข้อต่อ ในคนที่เป็นเยอะอาจจะมีอาการปวดบวมรุนแรงจนขยับไม่ไหวเดินไปไหนไม่ได้ หรือแค่จับบริเวณข้อต่อเหล่านั้นก็เจ็บแล้ว และหากเป็นบ่อยๆอาการอาจขยับรุนแรงขึ้น โดยอาจจะเกิดตุ่มโทฟัสหรือปุ่มโรคเก๊าตามมา
ตุ่มโทฟัสหรือปุ่มโรคเก๊าท์คืออะไร
ตุ่มโทฟัส (Tophus) จะมีลักษณะเป็นสายสีขาวไหลออกมาจากปุ่มซึ่งสามารถเกิดเป็นแผลได้ กลุ่มนี้จะเกิดบริเวณที่มีการสะสมของกรดยูริคสูง โดยเฉพาะข้อต่อที่เรามักจะปวดเก๊าท์บ่อยๆ หรือมีอาการอักเสบต่อเนื่อง เมื่อไรที่ปุ่มเก๊าท์เกิดขึ้นจะแสดงว่าความรุนแรงของโรคเก๊าเพิ่มมากขึ้น และหากปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษาข้อต่อบริเวณนั้นอาจจะพิการเสียหาย
นอกจากอาการเบื้องต้นแล้วผู้ป่วยโรคเก๊าท์อาจจะมีสภาวะไตเสื่อมเป็นนิ่วในไตและภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกหนาวสั่นหรือไข้ขึ้นได้ ร่วมกับการอักเสบของข้อต่อ
ภาวะเลือดเป็นกรด (Metabolic Acidosis) กับโรคเก๊าท์
เมื่อมีกรดยูริคสะสมในเลือดมากขึ้นและมีการตกค้างสะสมในบริเวณข้อเพื่อจะมีสภาวะเป็นกรดและมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นนิ่วในไต อาการที่จะเกิดขึ้นจากภาวะเลือดเป็นกรด คือหัวใจเต้นถี่ หายใจเร็ว มีอาการซึมสมองมึนงง เป็นต้น
ปวดเก๊าท์ตอนไหนบ้าง?
เราอาจจะไม่สามารถบอกเวลาชัดเจนที่จะปวดเก๊าท์ได้ เพราะแต่ละคนมีปัจจัยที่ต่างกันแต่โดยส่วนใหญ่แล้วช่วงเวลาเหล่านี้คือช่วงที่มักเกิดอาการปวดขึ้นมา
- ตอนที่เรามีความเครียด กดดันสูง
- ตอนกินเหล้า ดื่มไวน์ เบียร์ แอลกอฮอล์
- ตอนที่เรากินเลี้ยงสังสรรค์ หรือกินอาหารมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอาหารที่มีกรดยูริคสูง
- ตอนที่เราป่วย ร่างกายไม่แข็งแรง
- ตอนที่อากาศเย็น หนาว ฝนตก หรืออากาศมีการเปลี่ยนแปลงแปรปรวน
พัฒนาการระดับความรุนแรงของโรคเก๊าท์
- Asymptomatic Hyperuricemia : ช่วงนี้จะไม่มีอาการแสดงออกมาถึงแม้ว่าเราอาจจะมีกรดยูริคสะสมอยู่ในเลือดสูงแต่ยังไม่เกิดอาการปวด
- Acute Gouty Arthritis ช่วงที่เราเริ่มปวดข้อขึ้นมากะทันหัน
- Intercritical Gout พัก : ช่วงหยุดพักระหว่างอาการปวดคือเริ่มหายปวดจากช่วงแรก และเป็นระยะเว้นก่อนที่จะเริ่มปวดในครั้งต่อไป ในช่วงนี้ผู้ป่วยควรรีบเร่งหาวิธีรักษาแก้ไขก่อนที่จะกลับมาปวดอีก
- Recurrent Gout Arthritis : ช่วงที่กลับมาปวดอีกครั้ง
- Chronic Tophaceous Gout : ช่วงที่อาการปวดรุนแรงขึ้นจนถึงระดับเรื้อรังและปวดต่อเนื่องถี่บ่อยเป็นประจำและขยายบริเวณมากขึ้น มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเก๊าท์
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเก๊าท์อย่างหนึ่งที่พบได้มากที่สุดคือการทำงานเสียสมดุลของไต การเกิดนิ่วในไต และปัญหาทางกระเพาะปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือการติดเชื้อ ในผู้ป่วยโรคเก๊าท์มากกว่า 25% จะพบปัญหาเหล่านี้ และอาจจะรุนแรงไปจนถึงขั้นไตวายได้เลย
นอกจากนั้นแล้วผู้ที่เป็นโรคเก๊ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดเช่นหลอดเลือดหัวใจตีบหลอดเลือดสมองตีบ โรคคอเลสเตอรอลสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
วิธีรักษาโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์รักษาอย่างไร หายไหม?
วิธีรักษาโรคเก๊าท์ให้หายขาดควรแก้ที่ต้นเหตุ และสามารถดูแลร่วมกับการรับประทานอาหารเสริม ยา หรือสมุนไพรบรรเทาอาการโรคเก๊าท์และดูแลพฤติกรรมภายนอกเพื่อไม่ให้กระตุ้นให้เกิดโรคเก๊าท์มากขึ้น
สาเหตุที่แท้จริงของโรคเก๊าท์เกิดจากการที่ร่างกายเสื่อมสภาพลง ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆเพื่อซ่อมแซมตัวเองไปจนถึงอวัยวะไตที่ทำหน้าที่ขับกรดยูริคออกเสื่อมสภาพลงทำงานผิดปกติ ทำให้ปริมาณการขับกรดยูริคออกน้อยกว่าปริมาณที่ผลิตขึ้นมาได้จนเกิดการสะสมตามข้อต่อต่างๆ จนเกิดการอักเสบปวดข้อบวมแดงและเป็นโรคเก๊าท์ในที่สุด
ดังนั้นการแก้ไขที่ต้นเหตุคือการบำรุงสุขภาพพื้นฐานให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์บำรุงการหมุนเวียนเลือดบำรุงไตให้ทำงานได้เป็นปกติขึ้นซึ่งวิธีการนี้สามารถเริ่มจากการดูแลตัวเองขั้นพื้นฐานเช่นการดูแลสุขภาพปกติโดยเฉพาะการรับประทานสารอาหารที่มีประโยชน์คุณค่าสูงและสารพิษน้อยเพื่อให้ร่างกายนำสารอาหารเหล่านั้นไปซ่อมแซมตัวเอง การลดความเครียด การนอนหลับที่มีคุณภาพ และการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอคือหัวใจหลักของการแก้ปัญหาและรักษาโรคเก๊าท์ให้หายขาดได้ โดยไม่ใช่แค่การระงับการปวดเป็นครั้งๆเท่านั้น
สารอาหารที่สำคัญหลักพื้นฐานคือวิตามินแร่ธาตุที่ครบถ้วนสมบูรณ์และกรดอะมิโนโปรตีนที่ดีพอมีคุณภาพสูงเพราะเป็นสารอาหารหลักที่ร่างกายนำไปใช้ในการซ่อมแซมเซลล์และอวัยวะต่างๆเนื่องจากอวัยวะในร่างกายทุกเซลล์มีส่วนประกอบหลักคือโปรตีนหากเซลล์เก่าเสื่อมสภาพเยี่ยมต้องการโปรตีนใหม่ๆที่มีคุณภาพมาซ่อมแซมเพื่อให้กลับมาแข็งแรงขึ้น
อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควรระวังการรับประทานโปรตีนบางประเภทโดยเลือกทานชนิดที่ดีต่อร่างกายเพราะโปรตีนเป็นสารอาหารหลักที่ทำให้เกิดการผลิตกรดยูริคและอาจจะทำให้สะสมเกิดอาการปวดข้อได้ง่าย แต่ในทางตรงกันข้ามหากทานน้อยเกินไปจนขาดสารอาหารร่างกายก็จะยิ่งเสื่อมสภาพเร็วขึ้นเรื่อยๆ ความสามารถในการขับกรดยูริคออกก็จะน้อยลงเรื่อยๆโดยถึงแม้ว่าจะทานโปรตีนน้อยแต่อาการปวดก็ยังเพิ่มขึ้นได้อยู่ดี จึงต้องควบคุมสมดุลให้ร่างกายรับโปรตีนที่ดีเพื่อใช้ในการซ่อมแซมหลอดเลือดตับไตและผลิตโกรทฮอร์โมนออกมาซ่อมแซมร่างกายอย่างเพียงพอในขณะเดียวกันก็ดูแลตัวเองด้านอื่นๆควบคู่ไปด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับกรดยูริคของร่างกายออก แนะนำลดโปรตีนลงเฉพาะช่วงเวลาที่มีอาการปวดเก๊าท์เพื่อบรรเทาอาการปวดในขณะนั้น
อาหารเสริมที่แนะนำสำหรับโรคเก๊าท์ เช่น สมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการบำรุงไต บำรุงเลือด และขับกรดยูริค อาหารเสริมสูตรบำรุงโกรทฮอร์โมน อาหารเสริมโปรตีนกลุ่มกรดอะมิโนที่จำเป็น น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์ (Apple Cider Vinegar) เป็นต้น
พื้นฐานการดูแลสุขภาพเพื่อรักษาโรคเก๊าท์ให้หายขาดมีเคล็ดลับดังนี้
- รับประทานอาหารให้ครบสมบูรณ์ตามโภชนาการโดยเฉพาะผักผลไม้เพื่อให้ได้วิตามินแร่ธาตุที่ครบถ้วน และที่สำคัญอย่าระมัดระวังการรับประทานโปรตีนมากเกินไปจนไม่ทานเสียเลยเพราะโปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่ใช้ในการซ่อมแซมอวัยวะต่างๆให้กลับมาขับกรดยูริคออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม ซึ่งเป็นการแก้ไขที่ต้นเหตุของโรคเก๊าท์อย่างแท้จริง
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารพิษสารเคมีและยาฆ่าแมลงสะสมสูง
- หลีกเลี่ยงโปรตีนบางกลุ่มเช่นโปรตีนจากสัตว์ปีกไก่เป็ดห่านนก เครื่องในสัตว์เช่นหัวใจไก่ตับไก่ตับหมูเป็นต้น
- เน้นรับประทานผักผลไม้ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการขับกรดยูริคให้ดีขึ้นได้และยังจะช่วยเปลี่ยนสภาวะค่ากรดในปัสสาวะจากที่เป็นกรดให้เป็นด่างทำให้เกิดการขับยูริคได้ดีขึ้น
- ดื่มน้ำเปล่าให้มากพอในแต่ละวันลดปริมาณการดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำหวานต่างๆให้น้อยลง
- หลีกเลี่ยงการทานยาหรือรับสารเคมีในปริมาณเยอะเพื่อให้ไตไม่ต้องทำงานหนักในการขับสารพิษออก
- ปรึกษาแพทย์ก่อนเลือกรับประทานยาชนิดต่างๆ เนื่องจากยาบางตัวจะมีส่งผลกระทบต่อการทำงานของยาโรคเก๊าท์โดยตรง
- ลดการดื่มเหล้าแอลกอฮอล์ให้น้อยที่สุด โดยเหล้าหรือแอลกอฮอล์แล้ววันนี้จะทำให้มีสายและเกรดเพิ่มขึ้นในเลือดโดยจะมีผลโดยตรงทำให้ลดปริมาณการขับกรดยูริคออกทางปัสสาวะ
- ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อกระตุ้นระบบหมุนเวียนเลือดและช่วยให้พื้นฐานร่างกายแข็งแรง โดยในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควรจะระมัดระวังการออกกำลังกายไม่ให้ส่งผลกระทบต่อข้อต่อมากเกินไปนะและหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บทางข้อ
ยารักษาโรคเก๊าท์และบรรเทาอาการ
ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันมีการใช้ยารักษาโรคเก๊าท์ที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดหรือลดความเสี่ยงในการเกิดกรดยูริคเกาะสะสมตามข้อต่อ โดยยาเหล่านี้ไม่ว่าจะไม่ได้รักษาที่ต้นตอแต่สามารถช่วยบรรเทาและลดความเสี่ยงได้ โดยเน้นรับประทานควบคู่ไปกับการดูแลตัวเองเพื่อแก้ปัญหารักษาโรคเก๊าท์ให้หายขาดได้
ยารักษาโรคเก๊าท์ที่แพทย์ใช้บ่อยในปัจจุบันแบ่งเป็นยาลดข้ออักเสบและยาลดกรดยูริค
1.ยาลดข้ออักเสบ
ยาชนิดนี้ทำหน้าที่บรรเทาอาการปวดข้อลดอาการข้ออักเสบ โดยที่มันใช้เป็นประจำคือ
1.1 ยาโคลชิซิน (colchicine) – เป็นยาลดอาการข้ออักเสบที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการอักเสบปวดขึ้นใหม่บ่อย การใช้ยาชนิดนี้อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ท้องเดินได้ซึ่งกรณีที่เป็นควรหยุดใช้ทันทีและควรทานไม่เกิน 20 เม็ดต่อวัน
1.2 ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) / อินโดเมทาซิน (Indomethacin) – เป็นชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์แพ้มันจะจ่ายยานี้ให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาโคลซิซินได้ ยาชนิดนี้ไม่ควรใช้เป็นประจำนานเพราะมีผลข้างเคียงที่เปลี่ยนสบายต่อผู้ใช้โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจโรคไตแต่มีปัญหาเลือดออกในทางเดินอาหารไม่ควรจะใช้ยาชนิดนี้
1.3 ยากลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoid) – ยาตัวนี้เป็นรูปแบบการฉีดโดยจะใช้ฉีดเข้าไปในบริเวณข้อที่มีการอาการปวด เป็นชนิดสเตียรอยด์ ไปหาผู้ป่วยมีอาการติดเชื้ออักเสบอยู่ด้วยไม่ควรจะใช้ยาชนิดนี้
2.ยาลดกรดยูริค
ในทางการแพทย์มีวิธีที่นำไปใช้ในการลดกรดยูริคออกด้วยการใช้ยาลดกรดยูริค ยาจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดที่ทำงานแตกต่างกันโดยเลือกใช้เพียงชนิดเดียวเท่านั้นไม่ควรใช้พร้อมกันทั้ง 2 ชนิด
- การรับประทานยาลดกรดยูริคถ้าจะสั่งให้ทานต่อเนื่องเป็นประจำในทุกวันเพื่อลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่างๆของโรคเก๊าท์
- ในผู้ที่มีอาการปวดแบบอักเสบเป็นข้ออักเสบอยู่ด้วยควรจะหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดกรดยูริคเนื่องจากหากใช้ยาประเภทนี้อาจทำให้อักเสบยาวนานขึ้นหรือปวดนานขึ้นได้
- ในระหว่างการใช้ยาลดกรดยูริคควรเข้าไปพบแพทย์เพื่อตรวจค่ากรดยูริคในเลือดเป็นประจำสม่ำเสมอ
- หากผู้ป่วยไปตรวจเลือดแล้วพบว่าในกระแสเลือดมียูริคตกค้างค้างอยู่สูงแต่ยังไม่ได้แสดงอาการปวดออกมาระดับค่ากรดยูริคก็ยังไม่สูงเกินกว่า 12 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ก็ยังไม่จำเป็นต้องรับประทานยาลดกรดยูริค
2.1 ยาลดการสร้างกรดยูริค
ยาชนิดนี้จะไม่ได้เน้นการขับกรดยูริคออกแล้วจะเนียนลดการผลิตกรดยูริค ยาที่มักใช้กันคือยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol) เป็นรูปแบบเม็ดรับประทานครั้งละ 200 ถึง 300 mg ในแต่ละวัน ข้อควรระวังคือยาชนิดนี้มีโอกาสทำให้เกิดอาการแพ้หรือผื่นคันได้หากมีอาการแพ้ดังกล่าวควรหยุดใช้ทันทีและอาจทำให้ตับอักเสบได้
2.2 ยาขับกรดยูริค
ยาชนิดนี้ช่วยเสริมให้ร่างกายสามารถขับกรดยูริคได้มากขึ้นเพื่อลดการสะสมกรดยูริคในข้อต่อยาที่นิยมใช้กันคือยาโพรเบเนซิด (Probenecid) โดยรับประทานเป็นรูปแบบเม็ดปริมาณ 1-2 เม็ดต่อวัน หากทานยาฉีดนี้ร่วมกับยาแอสไพรินจะลดประสิทธิภาพการทำงานลงและยาชนิดนี้หากทานต่อเนื่องจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นนิ่วในไตผู้ชายควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดนิ่ว และยานี้ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคไตไตเสื่อมสภาพ หรือเป็นนิ่วในไตอยู่แล้ว
วิธีบรรเทาอาการปวดเก๊าท์รูปแบบประคบ
ปวดเก๊าทำไงดี บรรเทาแนววิถีธรรมชาติได้อย่างไร
ในช่วงที่เราปวดเก๊าท์นอกจากการใช้ยาเพื่อระงับการปวดแล้ววิธีแบบธรรมชาติที่ได้ผลชัดเจนและมักใช้กันบ่อยคือการประคบร้อนประคบเย็น
โดยวิธีการทำได้ 2 แบบสามารถใช้ที่ประคบร้อนประคบเย็นมาประคบโดยตรงได้เลยโดยสลับกันครั้งละ 15 ถึง 20 นาที หรือจะใช้วิธีการแช่เท้าลงในอ่างน้ำอุ่นร้อนสลับกับแค่นี้น้ำเย็น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นระบบหมุนเวียนเลือดให้ไหลเวียนดีขึ้นและลดอาการปวดลงได้
วิธีบรรเทาอาการปวดเก๊าท์รูปแบบฝังเข็ม
ทางการแพทย์แผนจีนมีการใช้วีธีฝังเข็มในการช่วยบรรเทาอาการปวด ซึ่งมักจะทำร่วมกันไปกับการดูแลพฤติกรรมตัวเองร่วมด้วย จึงจะดีขึ้นได้อย่างแท้จริง
สมุนไพรไทยรักษาโรคเก๊าท์
สมุนไพรรักษาโรคเก๊าท์ที่คนไทยนิยมนำมาใช้กัน ได้แก่เห็ดหลินจือ หญ้าหนวดแมว หญ้าใต้ใบ ใบรางจืด ใบมะรุม ขมิ้นชัน ใบยอ มะเฟือง เป็นต้น
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
อาหารแสลงโรคเก๊าท์มีมากมายหลายชนิด จนผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ส่วนใหญ่เมื่อได้ฟังคำแนะนำการทานจากหมอว่าโรคเก๊าท์ห้ามกินอะไรบ้าง กลับได้ความว่าแทบจะกินอะไรไม่ได้สักอย่าง แต่จริงๆแล้วมีหลักง่ายๆก็คือรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นหลักและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิษสารเคมีสะสมสูง ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันอาหารส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนของสารเคมีสูงเราจะเห็นได้ว่าอาหารห้ามโรคเก๊าท์มีเต็มไปหมดแต่จริงๆแล้วสามารถเลือกทานอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อนน้อยกว่าชีวิตหรือมารับประทานได้
อย่างไรก็ตามหลักการเลือกทานอีกอย่างหนึ่งที่เป็นพื้นฐานคือการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริคสูง หรือมีพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ หัวใจไก่ ตับไก่ ตับหมู ไข่ปลา หอย เนื้อสัตว์ปีก เป็นต้น
ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควรได้รับประทานผักผลไม้ปริมาณมาก โดยเฉพาะผลไม้จะมีค่ากรดยูริคน้อยกว่าอาหารอื่นๆส่วนใหญ่ในส่วนของพระจะมีผักที่มีระดับกรดยูริคสูงไปจนถึงต่ำผักที่ควรหลีกเลี่ยงเช่น กะหล่ำปลี ต้นหอม ถั่วงอก บล็อคโคลี่ ข้าวโพด พริกหยวก หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น
โรคเก๊าท์แม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่ได้ร้ายแรงจนเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียชีวิต แต่อาจจะเป็นต้นตอของโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อันตรายยิ่งกว่านี้ตามมา และที่สำคัญที่สุดที่ควรจะรีบเร่งรักษาคือเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เราจะต้องทรมานกับอาการปวดเหล่านี้ ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก โรคเก๊าท์ไม่ใช่โรคที่รักษาไม่หายแต่เป็นโรคที่รักษาหายขาดได้ โดยจำเป็นต้องพึ่งพาการดูแลตัวเอง ระเบียบวินัยและการใส่ใจต่อสุขภาพที่เพิ่มขึ้นในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ซึ่งโรคเก๊าท์เป็นแค่สัญญาณเตือนว่าแต่ก่อนเราใช้ชีวิตโดยที่ไม่ดูแลสุขภาพเพียงพอจึงมีการฟ้องออกมาเท่านั้น หากเราปรับเปลี่ยนตัวเองเราก็จะสามารถหายจากโรคเก๊าท์ได้พร้อมกับมีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างรอบด้านแน่นอน