อาหารเสริมGH3 กับโรคหัวใจ โรคหัวใจ ภัยร้ายที่อยู่ใกล้ตัวคุณ โรคหัวใจ คืออะไรกันแน่? หลายคนคงสงสัยว่าจริง ๆ แล้วนั้นโรคหัวใจนั้นหมายถึงอะไร คุณต้องเข้าใจอย่างหนึ่งก่อนว่าหัวใจนั้นถือเป็นอวัยวะสำคัญมากส่วนหนึ่งของร่างกาย ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไปฟอกยังปอด แสดงว่าอะไรก็ตามที่เป็นสาเหตุทำให้หัวใจทำงานผิดปกตินั่นก็สามารถเรียกได้ว่าเป็นโรคหัวใจได้ทั้งนั้น จะสังเกตอาการของโรคหัวใจได้อย่างไร หากคุณเองไม่ได้เป็นคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจมาก่อน คงเป็นเรื่องยากที่สังเกตสัญญาณต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ แม้ว่าสาเหตุของโรคหัวใจมาจากหลายสาเหตุแต่อาการที่พอจะสังเกตได้โดยรวม ๆ ก็คือ เหนื่อยง่าย รู้สึกแน่น เจ็บบริเวณกลางอก ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจมีอาการจุกเสียด แน่นท้องเหมือนท้องอืดได้ และหากมีอาการดังกล่าวเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เกิดอาการชา มีเหงื่อไหล หน้ามืด เริ่มหายใจลำบากจนอาจทำให้เกิดอาการหมดสติได้ และแน่นอนว่าหากไม่ทำการรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อะไรที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ สาเหตุที่แน่นอนนั้นไม่สามารถระบุให้ชัดลงไปได้ แต่ส่วนมากแล้วเกิดจากการอุดตันในหลอดเลือด ซึ่งหากอาการไม่รุนแรงมาก ผู้ที่เป็นไม่มีทางสังเกตอาการได้เลย แต่เมื่อปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานการอุดตันก็จะเพิ่มมากขึ้น เลือดที่สูบฉีดจะไหลเวียนได้ยากขึ้น อาการที่เป็นสัญญาณเตือนจะเริ่มส่งสัญญาณให้สังเกตเห็นได้บ้างแล้ว แต่หากยังปล่อยทิ้งไว้ผนังหลอดเลือดจะเริ่มหนาขึ้น แข็งขึ้น จนอาจทำให้เลือดไม่สามารถผ่านได้เลย และเป็นสาเหตุของโรคหัวใจไปในที่สุด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ คอเลสเตอรอลเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นบ่อเกิดโรคหัวใจ คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่ได้จากอาหารบางประเภท หรือแม้แต่เกิดจากร่างกายเอง ซึ่งไขมันเลวตัวนี้เองหากเกิดการสะสมมากขึ้นก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้อาการหลอดเลือดอุดตันทวีความรุนแรงขึ้น ปัจจัยต่อมาก็คือผลกระทบจากโรคเบาหวานซึ่งเป็นอาการที่ร่างกายมีความผิดปกติของระดับน้ำตาลที่สูงกว่าปกติ ในขณะที่ร่างกายไม่สามารถฮอร์โมนอินซูลินที่ทำหน้าที่นำน้ำตาลออกจากหลอดเลือด อาการเหล่านี้หากเรื้อรังย่อมไม่เกิดผลดีต่อหลอดเลือดแน่นอน เปรียบเสมือนท่อน้ำที่เต็มไปด้วยคราบตะกรัน น้ำย่อมไหลไม่สะดวก ความดันสูงก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณมีโอกาสจะเป็นโรคหัวใจได้เพราะสาเหตุหนึ่งของความดันสูงก็คือการอุดตันของเส้นเลือดซึ่งอาจเกิดจากคอลเลสเตอรอลหรือเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ก็ได้ วัยใดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจก็คือผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยจะมีโอกาสเสี่ยงในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง มีวิจัยบางเรื่องสนใจในเรื่องนี้จึงตั้งสมมติฐานว่าฮอร์โมนเอสโทรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงอาจมีส่วนช่วยยับยั้งอาการโรคหัวใจก็ได้ ผลที่ได้ก็คือฮอร์โมนนี้มีส่วนช่วยในการยับยั้งได้จริง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลในเรื่องอัตราการเสี่ยงตามเพศและวัยดังกล่าวนั่นเอง พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ พฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจขึ้นอย่างเช่น การสูบบุหรี่ พฤติกรรมนี้เป็นอันรู้กันว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหลายโรคด้วย โดยสาเหตุอาจไม่ได้เกิดมาจากโรคหัวใจโดยตรงแต่อาจเกิดมาจากภาวะของโรคที่เกิดจากอวัยวะส่วนอื่นเช่น ปอด หรือหลอดลม เมื่ออวัยวะเหล่านี้มีความผิดปกติย่อมมีผลกระทบต่อหัวใจโดยตรง หัวใจที่ทำงานหนักมากขึ้นก็ย่อมมีโอกาสที่จะหยุดทำงานเอาดื้อ ๆ หรือที่เรียกว่ากันว่าภาวะหัวใจวาย(Heart Failure) นอกจากนั้นแล้วสารในบุหรี่บางตัวยังมีผลกับหัวใจโดยตรงอีกด้วย อย่างเช่น สารนิโคตินที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ความดันเลือดก็จะสูงตามไปด้วย ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะมีคุณสมบัติในการแย่งเกาะเม็ดเลือดแดงกับออกซิเจน การลำเลียงก๊าซของเม็ดเลือดจึงลดประสิทธิภาพลงผลก็คือร่างกายลำเลียงออกซิเจนได้น้อยลง ซึ่งแน่นอนว่าไม่เป็นผลดีกับร่างกายทุกส่วนไม่ใช่เฉพาะกับหัวใจด้วยซ้ำ พฤติกรรมในการทานอาหารก็เป็นอีกความเสี่ยงหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ อาหารที่มีไขมันโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวสูงนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะโรคหัวใจได้มากขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ เนย หรืออาหารประเภทไขมันสูง ในวัยเด็กหรือวัยรุ่นนั้นมีอัตราการเผาผลาญสูงการทานอาหารจำพวกนี้ร่างกายสามารถย่อยสลายเป็นพลังงานได้เกือบทั้งหมด แต่เมื่ออายุมากขึ้นความสามารถในการเผาผลาญอาหารของร่างกายก็จะลดลง ผลที่เห็นได้ชัดก็คือรูปร่างจะอ้วนขึ้น และหลาย ๆ คนก็อาจเคยสงสัยว่าก็ทานเท่าเดิมแต่ทำไมอ้วนขึ้นนั่นเอง ผลจากความอ้วนนั้นยังทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อให้สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างพอเพียงซึ่งสาเหตุนี้ก็เป็นบ่อเกิดของโรคหัวใจอีกเช่นกัน นักดื่มก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนไม่ดื่มเช่นกัน ผลของแอลกอฮอล์นั้นทำให้ระดับของไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นไขมันที่ประกอบไปด้วยกรดไขมัน 3 โมเลกุลรวมกับกลีเซอรอล 1 โมเลกุล ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูงกว่าปกตินั้นจะมีผลทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว อันตรายมาก ถ้าเกิดที่หัวใจก็ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด เกิดที่สมองก็ทำให้สมองเป็นอัมพาต อาการไหลตายตามข่าวก็มีสาเหตุหนึ่งมาจากการดื่มแอลกอฮอล์นี่เอง ภาวะความเครียดซึ่งหลาย ๆ คนคิดว่าเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ แต่จริง ๆ แล้วนั้นคนที่มีความเครียดนั้นเป็นผลมาจากจิตใจและความคิดเป็นหลัก ภาวะเหล่านี้เกิดจากความคาดหวังในเรื่องต่าง ๆ เมื่อไม่ได้ดังที่หวังก็จะเกิดการย้ำคิดย้ำทำว่าเหตุใดจึงไม่ได้ดังที่ต้องการ ซึ่งไม่ใช่เป็นการหาทางออกที่ดี เมื่อเกิดความเครียดจะทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ อาจมีอาการหน้ามืด หรือความดันสูงตามมา ระดับฮอร์โมนในร่างกายเกิดความผิดปกติ ต่อมใต้สมองจะถูกกระตุ้น ต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล(Cortisol) หากเป็นในระดับที่รุนแรง ฮอร์โมนตัวนี้จะไปปรับระดับของน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นหรือต่ำลง ซึ่งก็ทำให้เกิดความไม่สมดุลในร่างกายยิ่งไปเกิดกับผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานอยู่ด้วยก็ยิ่งอันตรายหนักเข้าไปอีก ผลที่แสดงออกมาก็คืออาจเกิดอาการช็อกได้ โรคหัวใจติดต่อกันได้อย่างไร โรคหัวใจนี้เป็นโรคหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ครอบครัวใดมีประวัติของคนในครอบครัวว่าเคยมีอาการเจ็บป่วยจากโรคหัวใจก็สันนิษฐานไว้เบื้องต้นเลยว่าคุณเองเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูง โดยเฉพาะประเภทโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจบาง โรคหัวใจชนิดเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโตผิดปกติ ต้องย้ำว่ามีความเสี่ยงสูงไม่ใช่เป็นแน่นอน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการดูแลร่างกายได้ถูกวิธี การป้องกันโรคหัวใจ สำหรับการป้องกันอาการของโรคหัวใจนั้นไม่จำเป็นต้องป้องกันแต่ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเท่านั้น คนปกติก็สามารถจะป้องกันได้เช่นกัน โดยแนวทางการป้องกันก็ต้องป้องกันในส่วนของพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจนั่นเอง งดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ควบคุมภาวะความเครียดของจิตใจ ควบคุมน้ำหนัก เพิ่มการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกายนั้นจะสามารถลดระดับความเครียดได้เป็นอย่างดีเมื่อทำเป็นประจำคุณก็จะสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้ อัตราการเผาผลาญของร่างกายก็ดีขึ้น คุณสามารถสังเกตผลที่เกิดขึ้นได้ว่าหากคุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้น ไม่เหนื่อยง่าย อารมณ์สดชื่นแจ่มใส รูปร่างดีขึ้น นั่นก็แสดงว่าคุณมาถูกทางแล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ตามการตรวจร่างกายเป็นประจำก็ยังคงต้องทำอยู่เพื่อให้คุณได้ทราบถึงภาวะทางร่างกายว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ ปกติแล้วต้องมีการวินิจฉัยเสียก่อนว่าสาเหตุของโรคหัวใจมาจากสาเหตุใด เบื้องต้นก็จะใช้ยาในการควบคุมและรักษาอาการของโรค หากเป็นภาวะของหลอดเลือดอุดตันอาจต้องทำการขยายหลอดเลือดโดยลูกโป่งถ่างขยายก่อน ในบางรายอาจต้องมีการผ่าตัดเปิดหัวใจซึ่งปัญหาอาจมาจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ลิ้นหัวใจ หัวใจรั่ว กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น และในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ว่าจะผ่านการรักษามาแล้วหรือไม่ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องควบคุมเรื่องอาหารเป็นหลัก เนื่องจากสิ่งที่ทานเข้าไปนั้นเหมือนที่กล่าวไว้ตอนต้นว่าหลายอย่างเป็นมูลเหตุให้เกิดโรคหัวใจได้ ให้เพิ่มอาหารที่เป็นอาหารจำพวกปลา ผัก ผลไม้ แทน งดของทอดของมัน บุหรี่และเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กับหัวใจต้องงดให้หมด ออกกำลังกายให้เหมาะสมคือมีทั้งการวอร์มอัพ ก่อนออกกำลังกาย การออกกำลังกายในระดับที่เหมาะสม และคูลดาวน์ทุกครั้งหลังการออกกำลังกาย หมั่นตรวจสอบชีพจรในขณะออกกำลังกายด้วยหากเร็วเกินไปต้องหยุดทันที อาการอื่น ๆ เช่นหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ อ่อนแรง หากมีให้เห็นก็ควรหยุดทันทีเช่นกัน ไม่ออกกำลังในที่ที่อากาศร้อนจัด ไม่อาบน้ำเย็น การดูแลต้องควบคู่ไปกับการรักษา มันดูเหมือนเป็นเรื่องยุ่งยากที่ต้องมาคอยควบคุมขั้นตอนแทบจะทุกขั้นตอนในการดำเนินชีวิต แต่ก็ไม่ได้เกินศักยภาพของมนุษย์แน่นอน และหากทำเป็นประจำจนกลายเป็นกิจวัตรแล้วสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นกิจกรรมที่ทำให้คุณต้องเสียเวลาในการดำเนินชีวิตเลยแม้แต่น้อย