วัยทองคืออะไร
อาการวัยทอง อาหารวัยทอง โรควัยทอง โรคแทรกซ้อน การรักษาดูแลช่วงหมดประจำเดือน
วัยทอง ภาษาอังกฤษเรียกว่า menopause แปลว่าวัยที่ประจำเดือนหรือเมนส์หมด วัยทองเป็นวัยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นวัยที่แสดงถึงการสิ้นสุดของวัยเจริญพันธุ์แลกเปลี่ยนผ่านจากวัยทองสู่วัยผู้สูงอายุ เป็นวัยที่รังไข่หยุดทำงานและไม่มีการตกไข่หรือตั้งครรภ์อีกต่อไปจึงหมดประจำเดือนและไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงอีก ซึ่งช่วงวัยทองนี้จะส่งผลกระทบต่อเราหลายด้านทั้งทางร่างกายและจิตใจที่ปรับเปลี่ยนไป
วัยทองอายุเท่าไหร่
วัยทองจะนับรวมระยะทั้งในวัยใกล้หมดประจำเดือนแล้ววัยหมดประจำเดือนแล้ว โดยเฉลี่ยช่วงอายุที่จะเกิดขึ้นจะอยู่ในช่วง 45 ถึง 55 ปี โดยบางคนอาจจะมีอาการวัยทองเพียงไม่นานก็หมดประจําเดือนทันทีหรือบางคนอาจจะมีอาการวัยทองนำมาก่อนเป็นสัญญาณยาวนาน 5-6 ปีก่อนที่จะมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
ระยะวัยทอง
- ระยะก่อนหมดประจำเดือน – ในช่วงเวลานี้ร่างกายจะเริ่มมีสัญญาณแสดงอาการผิดปกติหรือว่าอาการก่อนหมดประจำเดือนต่างๆ ระยะนี้อาจจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ปีหรืออาจจะยาวนานไปถึง 5-6 ปีก็ได้
- ระยะหมดประจำเดือน – ระยะนี้จะนับตั้งแต่หมดประจำเดือนแต่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายต่อมาอีก 1 ปี
- ระยะหลังหมดประจำเดือน – ระยะนี้คือระยะหลังจากหมดประจำเดือนมาแล้ว 1 ปีเป็นต้นไปจะมีอาการเช่นช่องคลอดแห้ง ตีบแคบลง ภาวะกระดูกพรุน และมีความเสี่ยงของภาวะโรคแทรกซ้อนที่อาจตามมาได้เช่นโรคหลอดเลือดต่างๆ
วัยทองกับฮอร์โมนเพศหญิง
เมื่อร่างกายของเพศหญิงไม่สร้างใครอีกทำให้ไม่มีประจำเดือนและฮอร์โมนเพศหญิงลดลง นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เรารู้จักกันว่าอาการวัยทอง ฮอร์โมนเพศหญิงตัวสำคัญที่ขาดไปนี้เรียกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
อาการวัยทองมีอะไรบ้าง อาการหมดประจําเดือนเป็นอย่างไร
ผู้หญิงวัยทองจะมีอาการของคนหมดประจำเดือนหรืออาการใกล้หมดประจำเดือนที่แสดงออกแตกต่างไม่เหมือนกันทุกคน ลักษณะวัยทองบางคนอาจจะมีหลายอาการหรือว่าบางคนแทบจะไม่มีอาการเลยก็เป็นได้
อาการวัยทองมักจะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน จนไปถึงหลังจากหมดประจำเดือนแล้วในช่วงต้นๆที่ร่างกายต้องปรับตัว และในบางคนที่ร่างกายสามารถปรับสมดุลได้อาการวัยทองก็จะหายไปได้ แต่ในทางตรงกันข้ามในหลายคนที่สุขภาพไม่ค่อยดีหรือไม่ค่อยดูแลตัวเองร่างกายอาจจะปรับสมดุลไม่ได้ ระบบร่างกายจึงรวนต่อเนื่องไปตลอดหลังจากหมดประจำเดือน
อาการวัยทองที่พบได้บ่อยมีดังนี้
- ประจำเดือนมาน้อยลงเรื่อยๆมาบ้างไม่มาบ้างค่อยๆห่างไป มาไม่สม่ำเสมอ
- อาการร้อนวูบวาบในร่างกาย ร้อนวูบวาบที่ขาและตามตัว
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ยาก แม้ไม่มีสาเหตุก็สามารถหงุดหงิดได้ อารมณ์เปลี่ยนแปลงวัย
- อาการซึมเศร้า หรือ 2 อารมณ์สลับไปมา
- นอนไม่หลับ หลับยาก หลับไม่เป็นเวลา หลับหลับตื่นๆกลางดึก
- เหนื่อยง่ายอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ตื่นมาไม่สดชื่นรู้สึกขาดพลัง
- ช่องคลอดแห้ง มีน้ำหล่อลื่นน้อยลง ทำให้เวลามีเพศสัมพันธ์จะรู้สึกเจ็บกว่าปกติ
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น อั้นฉี่ไม่ค่อยได้ ตื่นมาฉี่กลางดึกบ่อยครั้ง
- กระดูกพรุน กระดูกเปราะหักง่าย หากสะดุดหกล้มอาจจะมีปัญหากับกระดูกง่ายๆหัวใจก่อน
- ความจำแย่ลง จดจำอะไรได้ยากขึ้น หลงลืมง่าย
- มึนหัวบ่อยๆ เวียนหัวง่าย
- ผมร่วงผมบางผมแห้งเสีย
- ผิวแห้ง ดูไม่เปล่งปลั่ง เกิดฝ้ากระง่ายๆ ผิวแพ้ง่ายขึ้นเกิดผื่นแพ้ง่าย มีอาการคันเพิ่มขึ้น และง่ายต่อการมีแผลเป็น
- ระบบเผาผลาญทำงานแย่ลง ท้องอืดได้ง่าย มีลมในตัวเยอะ
- น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงกว่าปกติ
- ปวดเมื่อยมากขึ้น ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
โรคแทรกซ้อนในวัยทอง
นอกจากอาการวัยทองข้างต้นแล้วสิ่งที่ต้องระวังคือโรคอันตรายที่อาจจะเกิดตามมา โดยโรคที่พบได้บ่อยสุดคือวัยทองกับภาวะโรคกระดูกพรุน มวลกระดูกบางลง ทำให้แตกหักเปราะง่าย แม้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มเพียงเล็กน้อยก็ถึง ขั้นกระดูกเปราะหักได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อโรคอื่นๆเช่น โรคนอนไม่หลับ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบเป็นต้น
ตกขาวกับวัยทอง
ผู้หญิงในวัยทองไม่ควรจะมีปัญหาตกขาวอีกต่อไป ยกเว้นตกขาวนั้นจะเกิดจากสาเหตุปัญหาสุขภาพอย่างอื่นเช่นปัญหาจากการติดเชื้อเนื่องจากช่องคลอดบางลงทำให้ติดเชื้อราได้ง่าย หรือการรับประทานยาบำรุงวัยบทอง หรือสมุนไพรบางประเภทที่ไม่เหมาะสมกับร่างกายก็อาจจะทำให้เกิดอาการตกขาวได้เช่นกัน
สาเหตุและปัจจัยที่กระตุ้นให้เข้าสู่วัยทองเร็ว
วัยทองเป็นสัญญาณที่ชี้ว่าร่างกายหยุดการทำงานในระบบเจริญพันธุ์ ซึ่งโดยหลักแล้วมีสาเหตุมาจากเซลล์ในร่างกายเสื่อมสภาพลงจนเรียกได้ว่าเข้าสู่วัยชราจึงต้องปิดระบบสืบพันธุ์ที่ไม่จำเป็นกับการเอาชีวิตรอดนี้ไป
ดังนั้นปัจจัยหลักก็คือสุขภาพพื้นฐานของแต่ละคนนั่นเองที่จะส่งผลกระทบว่าเราจะหมดประจำเดือนช้าหรือเร็ว โดยปัจจัยแวดล้อมที่กระตุ้นให้มากมีดังนี้
- การดื่มเหล้าสูบบุหรี่
- การใช้ยาเยอะ รับสารเคมีเยอะ โดยเฉพาะการใช้ยาเคมีบำบัดหรือรังสีฉายแสงในกระบวนการรักษาโรคมะเร็ง
- มดลูกและรังไข่มีปัญหา เช่นโรคเนื้องอกในรังไข่ หรือในผู้ที่จำเป็นต้องผ่าตัดรังไข่หรือมดลูกออกไป
- การรับประทานอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานขาดสารอาหาร ทานอาหารขยะหรืออาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพเยอะ
- นอนน้อย นอนไม่มีคุณภาพ
- ไม่ค่อยออกกำลังกาย
- มีความเครียดสูง อารมณ์หงุดหงิดง่าย
วัยทองรักษาดูแลตัวเองอย่างไรดี
มารักษาอาการวัยทองกันเถอะ
ผู้ที่อยู่ในวัยทองหรือใกล้เข้าสู่วัยทองควรรีบหันกลับมาดูแลสุขภาพพื้นฐานให้ดี ซึ่งนอกจากจะช่วยลดอาการวัยทองปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงหลังหมดประจำเดือนได้แล้วยังมีโอกาสที่จะเลื่อนช่วงเวลาวัยทองออกไปให้ห่างไกลตัวเองได้อีกด้วย เพราะเมื่อพื้นฐานสุขภาพตัวเองดีวัยเจริญพันธุ์ก็จะยืดยาวออกไปได้
การหมดประจำเดือนไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกๆคนเพียงแต่ว่าทำอย่างไรให้หมดประจำเดือนช้า และมีอาการวัยทองน้อยเพื่อไม่ให้กระทบกับชีวิตประจำวันและคงรักษาสุขภาพที่ดีไว้ได้เพื่อให้มีอายุยืนนานพร้อมสุขภาพที่แข็งแรง
โดยพื้นฐานมี 3 ปัจจัยหลักที่รู้กันดีที่ใช้ในการดูแลสุขภาพเพื่อสร้างพื้นฐานที่ดีสําหรับสาววัยทองคือ 1 อาหารดี 2 ออกกำลังกายดีและ 3 ความคิดจิตใจดีหรือไม่เครียดนั่นเอง
วัยทองหาหมออะไร ช่วยเราได้อย่างไร
ซึ่งโดยส่วนมากหากเราปรึกษาแพทย์จะไม่ได้ให้ยาเพิ่มเติมอะไรเพียงแต่ให้คำแนะนำปรึกษาวิธีการใช้ชีวิตเท่านั้นแต่ว่าในกรณีที่คนไข้มีอาการวัยทองมากที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างรุนแรงและต้องการบรรเทาอย่างเร่งด่วนแพทย์อาจจะมีการให้ใช้ฮอร์โมนทดแทนหรือยาบางชนิดเพื่อช่วยบรรเทาอาการดังกล่าว เพียงแต่มันก็เป็นการช่วยแก้อาการได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น วิธีที่ดีคือการหันกลับมาดูแลตัวเองจะเป็นการแก้ปัญหาได้ดีที่สุดในระยะยาว
ส่วนคลินิกวัยทองสามารถเข้าไปหาและขอคำปรึกษาได้หลายแห่ง ตัวอย่างเช่น คลินิกวัยทองโรงพยาบาลรามา คลินิกวัยทองโรงพยาบาลจุฬา คลินิกวัยทองโรงพยาบาลศิริราช เป็นต้น
อาหารสำหรับวัยทอง
วัยทองกินอะไรดี
อาหารวัยทองเพื่อสุขภาพควรรับประทานอาหารพื้นฐานให้ครบสารอาหารทั้ง 5 หมู่ และยังควรมีสารอาหารกลุ่มโปรตีนที่ช่วยในการซ่อมแซมร่างกายให้เสื่อมสภาพช้าลง และอาหารที่มีแคลเซียมสูงผู้ที่จะป้องกันโรคกระดูกพรุน และควรเน้นการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลชนิดดีมากกว่าชนิดไม่ดี
นอกจากนี้อาหารที่เป็นที่นิยมสำหรับวัยทองคือน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลืองเพราะมีคุณสมบัติของฮอร์โมนเพศหญิง แต่อย่างไรก็ตามการดื่มมากเกินไปก็จะส่งผลเสียเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมดลูก ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานหนัก ร่างกายอ่อนเพลีย หรือหากทานน้ำเต้าหู้แบบหวานก็อาจจะเป็นบ่อเกิดของโรคเบาหวานได้
อาหารเสริมสำหรับผู้หญิงวัยทอง
ยาวัยทองหรือยาบำรุงสำหรับคนวัยทองมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารพื้นฐานของร่างกายหรือว่าสมุนไพรที่มีทั้งแบบไทยและแบบจีน โดยพื้นฐานที่นิยมกันมีดังนี้
- กรดอะมิโนโปรตีนบางชนิดที่สำคัญในการใช้ซ่อมแซมเซลล์และชะลอวัย โดยเฉพาะในสูตรอาหารเสริมบำรุงโกรทฮอร์โมน
- แคลเซียม ผู้ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
- วิตามินดี เพื่อช่วยปกป้องผิวร่วมกับการป้องกันโรคกระดูกพรุน
- สารแอนติออกซิแดนท์หรือสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อช่วยชะลอวัยป้องกันการเสื่อมสภาพของร่างกาย
- สารสกัดจากถั่วเหลือง ผู้ช่วยทดแทนฮอร์โมนเพศหญิง
- แบล็คโคฮอช ช่วยในการชะลอวัยและลดอาการวัยทอง
แนวทางการรักษาบรรเทาอาการวัยทองในรูปแบบแผนปัจจุบัน
การใช้ฮอร์โมนทดแทนสำหรับวัยทอง
วิธีนี้เหมาะกับวัยทองที่ต้องประสบอาการวัยทองรุนแรงแล้วพบกับความผิดปกติที่ควรจะรีบใช้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อบรรเทาปัญหาสุขภาพไปก่อน แล้วจึงค่อยรีบเร่งดูแลสุขภาพเพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอีกครั้ง
ฮอร์โมนทดแทนคืออะไร
ฮอร์โมนทดแทนคือสารสกัดที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนกับโปรเจสเตอโรนซึ่งอาจจะเป็นสารเคมีหรือสกัดมาจากพืชพันธุ์ธรรมชาติที่มีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิงตามธรรมชาติที่ร่างกายผลิตเอง โดยส่วนใหญ่จะให้ฮอร์โมนทดแทนทั้ง 2 ประเภทคือทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน โดยฮอร์โมนทดแทนนี้จะมีทั้งข้อดีและข้อเสียจึงควรพิจารณาใช้ให้เหมาะกับตัว
ประเภทฮอร์โมนทดแทนสำหรับวัยทอง
- รูปแบบการรับประทาน
- รูปแบบการฉีด
- รูปแบบแผ่นปิด
- รูปแบบการฝัง
- รูปแบบครีมทาผิวหนัง
- รูปแบบครีมทาบริเวณช่องคลอด
ประโยชน์ของฮอร์โมนทดแทน
- ช่วยลดอาการวัยทองเช่น อาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน อาการซึมเศร้า นอนไม่หลับหลับยาก เป็นต้น
- ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
- ช่วยป้องกันความเสี่ยงของโรคความจำเสื่อม
- ช่วยลดปัญหาเส้นผมหลุดร่วง ผิวหนังแห้งเสียอักเสบง่าย
ข้อเสียของฮอร์โมนทดแทน
- รู้จักไม่ใช่ข้อมูลที่ผลิตตามธรรมชาติของร่างกายจึงมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ อาการผิดปกติที่พบได้เช่น พบเลือดออกจากโพรงมดลูก มีอาการบวมน้ำ เจ็บเต้านม คลื่นไส้อาเจียน มึนหัว ปวดหัวไมเกรน อาการตกขาว ท้องอืด
- น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น การเผาผลาญแย่ลง
- ความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม การวิจัยอาจยังไม่มีหลักฐานว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งโดยตรงแต่ในผู้ที่เป็นโรคมะเร็งอยู่แล้วหากรับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมเข้าไปอาจจะไปกระตุ้นให้เกิดการขยายเพิ่มความรุนแรงได้
- มีผลเสียทำให้ตับไตต้องทำงานหนัก
- ประจำเดือนอาจมาผิดปกติมากขึ้น
การเลือกฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง
สาววัยทองเราควรเลือกใช้ฮอร์โมนทดแทนที่มีคุณภาพสูงโดยควรจะให้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับฮอร์โมนธรรมชาติของมนุษย์เรามากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงต่อร่างกายและควรปรึกษาแพทย์ในระหว่างรับประทานอย่างต่อเนื่อง ฮอร์โมนทดแทนที่มักใช้กันจะแบ่งประเภทดังนี้
ฮอร์โมนทดแทนสำหรับผู้หญิงที่ผ่าตัดมดลูกไปแล้ว
ข้อมูลชนิดนี้จะมีส่วนประกอบทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน สามารถแบ่งออกมาได้เป็น 2 ประเภทคือ
- ชนิดที่ใช้เป็นช่วงๆ – ชนิดนี้ได้สลักการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนโปรเจสเตอโรนและช่วงหยุดพักสลับกันไป โดยส่วนใหญ่ 3 อาทิตย์แรกจะให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนก่อน เมื่อทานฮอร์โมนเอสโตรเจนไปได้ 10 วันวันที่ 11 เดือนเริ่มรับประทานฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ต่อเนื่องไปและหยุดพร้อมกันเมื่อครบ 3 อาทิตย์หลังจากนั้นก็จะเว้นไม่ต้องใช้ฮอร์โมนไป 1 สัปดาห์ก่อนที่จะกลับมาเริ่มทานอีกครั้ง
- ชนิดที่ใช้ทุกวันต่อเนื่อง – ชนิดนี้มักจะใช้กับผู้หญิงที่หมดประจำเดือนมามากกว่าหนึ่งปี
ฮอร์โมนทดแทนสำหรับผู้หญิงที่ยังไม่ได้ผ่าตัดมดลูก
ฮอร์โมนเอสโตรเจน คืออะไร
เอสโตรเจนคือฮอร์โมนเพศหญิง ที่ทำหน้าที่โดยตรงกับภาวะสืบพันธุ์ในเด็กผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้นเมื่อช่วงเริ่มมีประจำเดือนหรือเปลี่ยนผ่านจากเด็กกลายเป็นสาว ฮอร์โมนชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นมาจากรังไข่เป็นส่วนมากและส่วนน้อยถูกสร้างขึ้นมาจากทางไขมันในผิวหนัง เมื่อเราเข้าสู่ช่วงปลายวัยสาวรังไข่จะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลงเรื่อยๆ จนเมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดต่ำลงไปถึงจุดหนึ่งการมีประจำเดือนก็ไม่ค่อยน้อยลงและหยุดไปในที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วร่างกายจะเริ่มผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และจะหยุดผลิตหรือหมดประจำเดือนในช่วงอายุประมาณ 45 ถึง 55 ปี
ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่ออวัยวะหลายอย่างโดยตรงเช่น หัวใจ สมอง เส้นเลือด กระดูก ผิวหนัง เป็นต้น
ในผู้ที่ผ่าตัดมดลูกออกจะไปเชิญปัญหาการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในทันทีซึ่งจะรุนแรงกว่าแบบธรรมดา เพราะแบบธรรมดาร้านขายจะไม่ค่อยผลิตน้อยลงไปทำให้ร่างกายปรับตัวได้ แต่ในกรณีของผู้หญิงที่ผ่าตัดมดลูกร่างกายต้องเผชิญกับภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างกระทันหันทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงกว่า
ฮอร์โมนทดแทนชนิดฮอร์โมนเอสโตรเจนมาในหลายรูปแบบที่นิยมใช้มักจะใช้ชนิดที่สกัดมาจากธรรมชาติเพราะจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าชนิดสารสกัดทางสารเคมี มีจำหน่ายในรูปแบบยาสำหรับรับประทาน แผ่นสำหรับแปะหรือนำไปสอดในช่องคลอด เจล เป็นต้น โดยควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกรูปแบบที่เหมาะกับตัวเองที่สุด
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนก็เป็นฮอร์โมนเพศหญิงชนิดหนึ่ง ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนิยมรับประทานเป็นฮอร์โมนทดแทนร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนโดยทำหน้าที่มีการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เพราะฮอร์โมนทดแทนโปรเจสเตอโรนทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวและเกิดมะเร็งในบริเวณนั้น
วัยทองในผู้ชาย
ผู้ชายวัยทองจะมีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกันแต่อาจจะไม่ชัดเจนเท่าในผู้หญิง โดยผู้ชายวัยทองมักจะนับช่วงอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 40 ถึง 65 ปีโดยมีสัญญาณคือการเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ที่จะเริ่มเสื่อมสภาพลงไปสู่กลางหมวดการเจริญพันธุ์เช่นเดียวกับผู้หญิง โดยการเสื่อมของระบบสืบพันธุ์หรืออัณฑะนี้จะส่งผลให้ฮอร์โมนเพศชายได้แก่ฮอร์โมนแอนโดรเจนและเทสโทสเตอโรนลดปริมาณลงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจที่เปลี่ยนแปลงไปได้ของผู้ชาย
อาการผู้ชายวัยทอง
อาการวัยทองของผู้ชายจะแตกต่างกับผู้หญิงอาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้
- อารมณ์ทางเพศลดลง องคชาติไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวยากขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายลดลงไปนั่นเอง
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เรี่ยวแรงลดลง มวลกล้ามเนื้อลดลง
- อ้วนง่าย ไขมันลงพุงง่าย การเผาผลาญแย่ลง
- นอนไม่หลับ หลับยาก หลับไม่สนิท
- ความจำแย่ลง เสี่ยงต่อภาวะอัลไซเมอร์ สมองเบลอง่าย ไม่ค่อยแล่นเหมือนก่อน
- ในบางๆอาจจะมีอาการร้อนวูบวาบแต่จะเป็นในระยะสั้นๆเท่านั้น อาจร่วมกับอาการหนาวง่ายขึ้น เหงื่อออก แต่ตัวสั่น เป็นต้น
- หลอดเลือดอุดตันง่ายขึ้น หลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งมีผลกระทบมาจากฮอร์โมนเพศชาย testosterone ที่น้อยลง
- มีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มโรคชราภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันสูง โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ เป็นต้น