โรคความดันโลหิตสูงกับอาหารเสริมGH3
มารู้จักโรคความดันโลหิตสูงกัน
โรคความดันโลหิตสูงคือ สภาวะที่มีค่าความดันโลหิตหรือความดันเลือดสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐาน เนื่องจากหัวใจจำเป็นต้องบีบตัวแรงกว่ามาตราฐานเพื่อให้เลือดไหลไปหล่อเลี้ยงเซลล์และอวัยวะต่างๆได้เพียงพอ
รู้จักอาหารเสริมGH3กับโรคความดันสูงกัน
โรคความดันโลหิตสูงคืออะไร มารู้จักข้อมูลพื้นฐานกันด้านล่างเลย
ความดันโลหิตคืออะไร
ความดันโลหิตคือความดันเลือด คือแรงดันของเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด
ในร่างกายของเราประกอบไปด้วยหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย โดยหลอดเลือดจะมีหน้าที่ลำเลียงเลือดที่ประกอบไปด้วยน้ำ ออกซิเจน และวิตามินแร่ธาตุสารอาหารต่างๆไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆในร่างกาย
โดยการที่หลอดเลือดจะนำส่งเลือดไปสู่เซลล์และอวัยวะต่างๆได้นั้น จะต้องได้รับแรงดันจากการบีบตัวของหัวใจ หลอดเลือดในร่างกายทั้งหมดรวมความยาวกันแล้วได้มากถึงนับแสนกิโลเมตร หัวใจจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญมากและจะต้องบีบตัวเกือบแสนครั้งต่อวันเลยทีเดียวเพื่อให้เซลล์ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
หัวใจจะมีการบีบตัวและคลายตัวเป็นจังหวะ และจะเกิดแรงดันที่ส่งผลต่อหลอดเลือดขึ้น และนั่นจึงเรียกว่า “ความดันโลหิต” นั่นเอง
ค่าความดันตัวบนกับความดันตัวล่างคืออะไร
เมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัวจะเกิดความดันกับหลอดเลือดที่มีค่าต่างกัน โดยเมื่อหัวใจบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงเซลล์ จะทำให้เกิดแรงดันสูงสุดต่อหลอดเลือด และเมื่อหัวใจคลายตัว ค่าความดันจะลดลงต่ำสุด เราจึงวัดค่าทั้งสองเวลาเพื่อนำมาใช้พิจารณาว่าเรามีค่าความดันเท่าไร
“ค่าความดันโลหิตที่ดีคือความดันโลหิตที่ไม่สูงและไม่ต่ำเกินไป”
หากความดันโลหิตมีค่าสูงเกินไปจะเกิดผลเสียกับร่างกายหรือเป็นสัญญาณว่าร่างกายมีความผิดปกติ และหากค่าความดันโลหิตมีค่าต่ำเกินไปก็อาจทำให้เซลล์และอวัยวะต่างๆขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงและทำให้อวัยวะต่างๆเสียหายทำงานผิดปกติและก่อโรคร้ายแรงได้
ค่าความดันโลหิตมาตราฐานคือเท่าไร
ความดันโลหิตตัวบนควรน้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอทหรืออย่างมากไม่เกิน 130 มิลลิเมตรปรอท และในส่วนความดันโลหิตตัวล่างไม่ควรสูงกว่า 80 มิลลิเมตรปรอทหรืออย่างมากไม่เกิน 85 มิลลิเมตรปรอท จึงจะจัดอยู่ในกลุ่มความดันโลหิตดีหรือปกติ
ค่าความดันโลหิตสูงคือเท่าไร
ในกลุ่มผู้ที่จัดว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว จะมีค่าความดันตัวบนที่สูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันตัวล่างสูงกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และจะถูกจัดได้เป็น 3 ระดับ คือระยะเริ่มต้น ระยะปานกลาง และระยะรุนแรง
และนอกจากสามระดับนี้แล้ว ยังมีระดับที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันสูงถ้าปล่อยทิ้งไว้เรียกว่า “ระยะความดันสูงขั้นต้น” ซึ่งในระยะนี้จะอยู่ระหว่างผู้ที่มีความดันสูงตัวบนอยู่ที่ 130-140 มิลลิเมตรปรอท และความดันตัวล่างอยู่ที่ 85-90 มิลลิเมตรปรอท เป็นระยะที่ยังไม่ถูกจัดว่าเป็นโรคความดันแต่มีแนวโน้มที่จะเป็นได้หากไม่รีบดูแลรักษาตัวเอง
วิธีการวัดค่าความดันโลหิตให้แม่นยำ
การวัดความดันที่แม่นยำไม่ควรจำวัดเพียงแค่ครั้งสองครั้ง หรือเพียงแค่วัดที่โรงพยาบาล คลีนิกเป็นครั้งคราว แต่ควรตรวจวัดอยู่สม่ำเสมอ ถึงจะได้ค่าความดันที่ค่อนข้างตรงกับความเป็นจริง เพราะความดันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในหนึ่งวันในเวลาที่ต่างกัน กิจกรรมและสถานการณ์สภาพร่างกายที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงเพศชาย หรือลักษณะรูปร่าง
โดยค่าความดันมักจะสูงในช่วงกลางวัน เพราะการเคลื่อนไหวของร่างกาย และค่าจะลดลงในช่วงเวลากลางคืนเพราะร่างกายจะได้พักผ่อนและผ่อนคลายมากกว่า
และในช่วงที่สภาพจิตใจแตกต่างก็จะทำให้ค่าความดันเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะช่วงที่อารมณ์แปรปรวน มีความเครียดกดดัน ตื้นเต้น โกรธ โมโห ความดันก็จะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ตัวอย่างเช่น ค่าความดันโลหิตที่แปรปรวนผิดพลาดเกิดขึ้นได้จากอีกสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยคือ ความคลาดเคลื่อนจากการวัดในคลีนิกหรือสถานพยาบาลต่างๆเนื่องมาจากอาการตื่นเต้น เครียด หรือกังวลที่ส่งผลให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง ในกรณีนี้หากมาวัดที่บ้านอาจได้ค่าความดันโลหิตไม่สูงแต่เมื่อไปที่โรงพยาบาลค่าความดันที่ได้อาจเพิ่มขึ้น
โรคความดันโลหิตสูงแฝงคืออะไร
ความดันโลหิตสูงแฝงคือการที่ไปตรวจความดันโลหิตแล้วไม่พบว่ามีความดันโลหิตสูง ซึ่งเมื่อพบอีกครั้งอาจอยู่ในระยะอันตรายแล้ว โดยหลักแล้วสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ
1.ความดันโลหิตสูงตอนเช้า
เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุดในหมวดความดันโลหิตสูงแฝง โดยภาวะนี้จะมีสองลักษณะ โดยลักษณะแรก ผู้ป่วยจะมีค่าความดันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วระหว่างตอนหลับและตอนตื่น โดยช่วงนอนหลับความดันจะลดลงและจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อตื่นนอน และในลักษณะที่สอง ผู้ป่วยจะมีค่าความดันสูงตลอดทั้งคืนตั้งแต่หลับจนตื่นนอน ซึ่งจะเป็นลักษณะที่อันตรายกว่าลักษณะแรกเนื่องจากมีช่วงของความดันโลหิตสูงที่ยาวนานกว่า
2.ความดันโลหิตสูงตอนกลางคืน
ในรูปแบบนี้ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตในตอนกลางคืนสูงกว่าตอนกลางวัน ทั้งๆที่โดยปกติคนเราจะมีความดันในช่วงนอนหลับต่ำกว่าช่วงตื่น ซึ่งภาวะผิดปกตินี้ทำให้หลอดเลือดต้องรับภาระแรงดันหนักมากแม้ในช่วงเวลาที่ควรได้พักผ่อนจึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้างเคียงที่ร้ายแรงได้มาก
3.ความดันโลหิตสูงในที่ทำงาน
ในรูปแบบนี้เมื่อเข้าไปตรวจค่าความดันที่คลีนิกหรือโรงพยาบาลมักจะตรวจไม่พบ เนื่องจากค่าความดันจะขึ้นสูงเฉพาะช่วงเวลาทำงาน ซึ่งในรูปแบบนี้จะเห็นได้ชัดว่าสาเหตุของความดันที่สูงขึ้นมีสาเหตุมาจากปัญหาในที่ทำงาน โดยเฉพาะความเครียด สภาวะกดดัน และความเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียจากการทำงาน
จะเห็นได้ว่าค่าความดันมีการเปลี่ยนแปลงได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นการวัดค่าความดันโลหิตควรมีการวัดหลายครั้ง โดยในผู้ที่สภาพร่างกายปกติ อาจจะมีความดันสูงเพียงแค่บางช่วงเวลา และค่าความดันก็จะกลับมาเป็นปกติได้ในไม่ช้า แต่ในผู้ที่ค่าความดันสูงต่อเนื่องแทบทุกครั้งในการวัด นั่นจึงแสดงว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว
วิธีวัดความดันเลือด
ในการวัดความดันด้วยเครื่องวัดความดันไม่ว่าจะเป็นในส่วนของต้นแขนหรือข้อมือมีข้อควรปฏิบัติดังนี้
- ไม่ควรรัดแน่นเกินไป ควรรัดให้พอดีๆ
- อย่าเกร็งตัว ผ่อนคลาย ยืดแขนออกมาให้สบายๆ
- เวลาวัดให้นั่งวัด
- หากแขนเสื้อยาวมาบังให้ถกแขนเสื้อขึ้น ไม่ควรวัดบนเสื้อผ้าหนาๆ
- เอาผ้าพันต้นแขนในบริเวณที่สูงเท่ากับหัวใจ และควรวัดให้สูงขึ้นไปจากข้อพับแขนมากกว่า 2-3 ซม.ขึ้นไป
- ควรวัดค่าอย่างสม่ำเสมอเพื่อเก็บข้อมูลได้ถูกต้อง
- ควรนั่งพักประมาณ 3-5 นาทีก่อนเริ่มวัดความดัน
- ไม่ควรวัดหลังจากออกกำลังกาย หลังจากเพิ่งสูบบุหรี่ และหลังจากอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ
ช่วงเวลาในการวัดความดันโลหิต
เช้า – ควรวัดก่อนทานอาหารเช้า หรือหลังปัสสาวะหรือภายในช่วงหนึ่งชั่วโมงหลังตื่นนอน
เย็น – ควรวัดช่วงก่อนนอน หรือหลังปัสสาวะ
ตัวกำหนดความดันโลหิต
- ปริมาณเลือดที่หัวใจสูบฉีด (Cardiac Output) คืออัตราที่เลือดไหลออกจากหัวใจภายในระยะเวลาหนึ่งนาที
- ความต้านทานของหลอดเลือด (Peripheral Vascular Resistance) คือประสิทธิภาพของหลอดเลือดในการส่งเลือดให้ไหลไปทั่วร่างกาย โดยวัดจากความต้านทานโดยเฉลี่ยของหลอดเลือดทั้งหมดในระบบหมุนเวียนเลือด ในหลอดเลือดที่มีปัญหาจะมีขนาดเล็กและตีบตัน เพราะมีไขมันในหลอดเลือดสูง หรือหลอดเลือดจะหดตัวลงเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด หรืออยู่ในที่หนาว
- ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในร่างกาย โดยถ้าหากในร่างกายเรามีเลือดเป็นปริมาณมาก หัวใจจะต้องใช้แรงสูบฉีดมากขึ้นเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกาย ความดันจึงสูงขึ้น และในทางตรงข้าม ถ้าปริมาณเลือดในร่างกายมีน้อย เช่นอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้สูญเสียเลือดหรือการบริจาคเลือด ค่าความดันก็จะลดต่ำลงเพราะหัวใจใช้แรงน้อยกว่าในการบีบส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกาย
- ความหนืดของเลือด ถ้าเซลล์เม็ดเลือดแดงของเรามีส่วนประกอบของของเหลวไม่สมดุล หรือมีปัญหาในการแข็งตัวของเลือด เลือดอาจจะมีความเหนียวหนืดทำให้ยากแก่การส่งไปเลี้ยงร่างกาย โดยเฉพาะยากแก่การส่งผ่านหลอดเลือดเล็กๆ หัวใจจึงต้องใช้แรงในการบีบส่งเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าความดันโลหิตสูงขึ้นนั่นเอง
- ความยืดหยุ่นของหลอดเลือด ในผู้ที่หลอดเลือดแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น จะทำให้ยากต่อการลำเลียงเลือดจึงส่งผลต่อค่าความดันเลือดเช่นเดียวกัน
ในปัจจัยทั้งหมด ปัจจัยสองข้อแรก คือปริมาณที่เลือดออกจากหัวใจ และความต้านทานของเส้นเลือดหรือเรียกง่ายๆว่าหลอดเลือดตีบตันหรือไม่ เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลถึงค่าความดันโลหิต หรือกล่าวได้ว่าเมื่อค่าทั้งสองสูง ก็จะทำให้ความดันโลหิตสูงตามไปด้วยนั่นเอง ดังนั้นตัวหลักที่เราต้องให้ความสนใจสำหรับผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง คืออวัยวะหัวใจและหลอดเลือดนั่นเอง
สารที่ส่งผลกระทบต่อความดันโลหิต
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือสารเพิ่มความดันโลหิตและสารลดความดันโลหิต ได้แก่
1.สารเพิ่มความดันโลหิต
เกลือ/โซเดียม
เกลือแกงหรือโซเดียมเป็นสารที่ส่งผลเสียต่อความดันโลหิต หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดมีโซเดียมสูงและทำให้ปริมาณแร่ธาตุในเซลล์เสียสมดุล สมองจะหลั่งฮอร์โมน ADH ออกมาเพื่อปรับสมดุล โดยการให้ไตดูดกลับน้ำเพิ่มขึ้น เราจึงมักมีอาการคอแห้งเมื่อกินของที่มีรสเค็มจัด และเมื่อเราคอแห้งเราจึงต้องกินน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ของเหลวในร่างกายเพิ่ม สารน้ำในเลือดและปริมาณเลือดเพิ่ม หัวใจจึงต้องสูบฉีดเลือดแรงขึ้นและส่งผลให้ความดันสูงขึ้นนั่นเอง
แคทีคอลามีน (Catecholamine)
แคทีคอลามีนคือกลุ่มฮอร์โมนที่หลั่งมาจากต่อมหมวกไต เช่น โดพามีน อะดรีนาลีน นอร์อะดรีนาลีน เป็นต้น ฮอร์โมนกลุ่มแคทีคอลามีนนี้เมื่อหลั่งออกมาจะทำให้หลอดเลือดบีบตัว และส่งผลให้ความดันสูงขึ้น ตัวกระตุ้นที่ทำให้ฮอร์โมนเหล่านี้หลั่งที่สำคัญคือภาวะความเครียด จะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนนี้และส่งผลเสียต่อร่างกาย
แอนจิโอเทสซิน II (Angiotensin II)
แอนจิโอทสซิโนเจน คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ในเลือด จะถูกย่อยสลายโดยเรนินซึ่งเป็นฮอร์โมนจากไตให้กลายเป็นแอนจิโอเทสซิน II ซึ่งเป็นสารที่มีผลกระทบทำให้หลอดเลือดเกิดการบีบตัวและทำให้ความดันสูงขึ้น
2.สารลดความดันโลหิต
โพแทสเซียม
โพแทสเซียมจะทำให้ความดันลดลง เนื่องจากเมื่อร่างกายมีโพแทสเซียมสูงเกินไปจะถูกขับออกมาพร้อมปัสสาวะ จึงทำให้ของเหลวในเลือดและปริมาณเลือดลดลง และอีกทั้งโพแทสเซียมยังทำให้หลอดเลือดขยายตัวอีกด้วย จึงส่งผลให้ความดันลดลง
ไคนิน (Kinin)
ไคนินเป็นสารที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว โดยไคนินนั้นถูกย่อยสลายมาจากไคนิโนเจน ซึ่งในกระบวนการนี้จะช่วยให้เกิดการขับโซเดียมส่วนเกินของร่างกายออกอีกด้วย จึงทำให้ความดันลดลงได้
โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin)
สารชนิดนี้มีผลทำให้หลอดเลือดขยายตัว กระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายปัสสาวะและขับของเสียออกจากร่างกายมากขึ้น
เอเทรียลเนทริยูเรติกเพบไทด์ (Atiral Natriuretic Peptide)
สารนี้จะถูกหลั่งออกมาโดยหัวใจห้องบนซึ่งมีผลทำให้เกิดการขับโซเดียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น และทำให้หลอดเลือดขยายตัวขึ้น
โรคแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
โรคหลอดเลือดตีบ
ในผู้ที่มีสภาวะความดันโลหิตสูงอยู่เป็นระยะเวลานาน จะส่งผลเสียต่อหลอดเลือด โดยหลอดเลือดจะต้องรับภาวะแรงดันสูงอยู่อย่างต่อเนื่อง จนเมื่อรับไม่ไหวก็จะทำให้เกิดการปริแตกของเยื่อบุด้านในหลอดเลือด และส่งผลให้เกิดการอุดตันสะสมของไขมันหรือคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL Cholesterol) ในบริเวณเหล่านั้น
ในช่วงเริ่มต้น ในร่างกายของเราจะมีกระบวนการกำจัดคอเลสเตอรอลไม่ดีที่สะสมอยู่ตามหลอดเลือดนี้โดยเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่าแมโครเฟจ แต่เมื่อนานเข้าไปการสะสมของไขมันในหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้นจนมากเกินไป เม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะเข้าไปจับตัวกับคอเลสเตอรอลเสียเองและถูกเรียกว่า โฟมเซลล์ ซึ่งทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดมากขึ้น หลอดเลือดแข็ง ขาดความยืดหยุ่น และส่งผลให้เกิดภาวะโรคหลอดเลือดแดงตีบได้
เมื่อหลอดเลือดแดงตีบจะทำให้เกิดวงจรที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยจะทำให้การหมุนเวียนของเลือดลำบากยิ่งขึ้น หัวใจต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อลำเลียงเลือด จึงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีก และเมื่อความดันโลหิตสูงขึ้น ก็ยิ่งทำให้หลอดเลือดเสียหายและตีบตันได้ง่ายเพิ่มขึ้นอีก จึงกลายเป็นวงจรที่ทำร้ายร่างกายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆถ้าไม่รีบแก้ไข
และนอกจากวงจรของปัญหาหลอดเลือดตีบและความดันโลหิตสูงแล้ว ทั้งสองอาการที่กล่าวมายังนำไปสู่โรคร้ายแรงได้อีกมากมาย โดยหลอดเลือดที่ตีบตันอาจจะเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย เช่นหากเกิดขึ้นที่บริเวณสมอง ก็จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมองตีบ หรือหากเกิดขึ้นที่บริเวณหัวใจ ก็จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้เลยทีเดียว ซึ่งมีตั้งแต่ความรุนแรงน้อยจนไปถึงความรุนแรงมากที่ทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว
สมอง
ภาวะหลอดเลือดตีบและความดันโลหิตสูงสามารถทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับสมองที่สำคัญคือ โรคเส้นเลือดในสมองตีบ และโรคหลอดเลือดในสมองแตกได้ โดยเกิดจากการที่หลอดเลือดตีบตันทำให้เซลล์สมองโดยรอบขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้เซลล์เหล่านั้นตายลงและทำให้เกิดความเสียหายต่อสมอง
และในกรณีที่หลอดเลือดเกิดรอยปริแตกเนื่องจากความดันโลหิตที่สูง อาจทำให้เส้นเลือดบริเวณสมองแตกซึ่งนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรงในสมอง ส่งให้เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตหรือถึงตายได้เลยทีเดียว
หัวใจ
โรคที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคหัวใจวาย โรคหัวใจโต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และอาการปวดเค้นบริเวณหัวใจ
โดยอาจเริ่มจากอาการปวดเค้นหัวใจ แน่นหน้าอก ที่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ แล้วอาจทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ถึงขั้นเสียชีวิตได้
และหากความดันเลือดสูงก็มีโอกาสนำไปสู่โรคหัวใจโต ซึ่งจะทำให้หัวใจทำงานได้แย่ลงและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ง่าย
ไต
ภาวะความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดตีบ เมื่อไปเกิดที่บริเวณไต เส้นเลือดฝอยในไตจะแข็งตีบตัน ไตจะขาดสารอาหารในเลือดไปหล่อเลี้ยงบำรุง ทำให้ไตเสื่อม ทำงานได้แย่ลง หรือเรียกว่า ไตกระด้าง และในขั้นอันตรายคือ เมื่อไตทำงานแย่ลง จะทำให้การขับปัสสาวะทำได้ลำบากขึ้น และอาจส่งผลต่อการเป็นโรคไตล้มเหลวหรือไตวายเรื้อรังได้
ดวงตา
เมื่อหลอดเลือดตีบบริเวณดวงตา จะทำให้เซลล์ลูกตาขาดสารอาหารไปซ่อมแซมฟื้นฟู ส่งผลให้เซลล์ตาเสื่อมเร็ว และเกิดโรคต่างๆตามมา เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม และอาจทำให้จอประสาทตาแตกและตาบอดได้
แขนขา
เมื่อเส้นเลือดบริเวณแขนและขาตีบ จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย ปวดแขนปวดขา และในขั้นร้ายแรงอาจทำให้เซลล์เนื้อตายเนื่องจากขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงได้
ช่องท้อง
เมื่อมีค่าความดันโลหิตสูง อาจทำให้หลอดเลือดใหญ่บริเวณช่องท้องปริแตกและทำให้เกิดการตกเลือดภายในอย่างรุนแรงและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่นำไปสู่โรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องถึงชีวิตได้มากมาย
อาการความดันโลหิตสูง
โดยปกติผู้ป่วยจะไม่มีสัญญาณทางร่างกายที่ชัดเจนถึงภาวะความดันโลหิตสูง สัญญาณที่แสดงออกมาในช่วงเริ่มต้นอาจเป็นเพียงอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกเยอะ หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว อาการปวดหัว เป็นต้น แต่สัญญาณเหล่านี้ก็เกิดขึ้นในคนที่ไม่ได้เป็นความดันโลหิตสูงเช่นเดียวกัน ดังนั้นคนส่วนใหญ่จะไม่สังเกตเห็นจนรู้ตัวอีกทีก็เมื่อโรคแทรกซ้อนร้ายแรงต่างๆเกิดขึ้นเสียแล้ว
และในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง อาจมีสัญญาณต่างๆที่แสดงถึงอาการของโรคแทรกซ้อน เช่น การหายใจถี่ หัวใจเต้นแรง อาจเกิดจากการที่หลอดเลือดหัวใจตีบ อาการตัวบวมน้ำและปัสสาวะน้อยกว่าปกติ อาจเกิดจากไตเสื่อมสภาพ และอาการปวดหัวคลื่นไส้อาเจียนอาจเกิดจากหลอดเลือดในสมองเสื่อม เป็นต้น
หรือในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีสัญญาณใดเลย แต่เมื่อรู้ตัวอีกทีก็เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดในสมองแตก หรือสูญเสียการมองเห็นไปเสียแล้ว จึงนับว่าเป็นโรคที่อันตรายที่อาจทำร้ายเราถึงตายได้โดยไม่รู้ตัวมาก่อน
สาเหตุโรคความดันโลหิตสูง
ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันสาเหตุของภาวะความดันโลหิตสูงสามารถแยกออกเป็นชนิดที่ทราบสาเหตุ และชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.ชนิดที่ทราบสาเหตุ ชนิดนี้เกิดจากปฏิกริยาผลข้างเคียงของการใช้ยาหรือโรคและอาการเจ็บป่วย เช่น โรคไตอักเสบ เนื้องอกในสมอง เป็นต้น
2.ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด คือถึงเก้าในสิบของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่ในชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ โดยสาเหตุสามารถสันนิษฐานได้จากสองปัจจัยคือ
2.1 ปัจจัยทางพันธุกรรม
ในครอบครัวที่พ่อแม่เป็นโรค ลูกที่เกิดมาก็ย่อมมีโอกาสเป็นโรคมากขึ้น แต่ปัจจัยทางพันธุกรรมนี้ก็ไม่แน่นอนเสมอไป เนื่องจากหากปัจจัยทางสภาพแวดล้อมอื่นๆ เช่นลูกมีการดูแลรักษาสุขภาพตัวเองเป็นอย่างดี โอกาสเกิดโรคก็ย่อมน้อยลงอย่างแน่นอน
นอกจากนั้นผู้ป่วยโรคบางชนิด เช่น โรคระบบสมองประสาทผิดปกติ โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด ก็ส่งผลให้ความดันสูงขึ้นได้เช่นกัน
2.2 ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม
การใช้ชีวิต พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ สาเหตุที่สำคัญเช่น การขาดสารอาหาร บริโภคอาหารไม่สมดุล ทานอาหารเค็มเกินไป ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักมากเกินมาตราฐาน การสูบบุหรี่ดื่มเหล้า ความเครียดสูง ก็ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง
1.ผู้ที่มีความเครียดสูง อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย
ผู้ที่ต้องอยู่ในสภาวะกดดัน มีความเครียด เก็บกด และอารมณ์แปรปรวนอยู่เสมอ โดยเฉพาะคนที่มีนิสัยติดเจ้าระเบียบ หัวแข็งดื้อรั้น ซีเรียสกับทุกเรื่อง ชอบการแข่งขันและเร่งรีบอยู่เสมอ มักจะมีปัญหาสภาพจิตใจ ขาดการผ่อนคลายทางอารมณ์ ล้วนทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น
2.ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน อ้วนลงพุง
การมีน้ำหนักเกินมาตราฐานหรือมีไขมันสะสมสูงเป็นสาเหตุให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ โดยสาเหตุเกิดจากเมื่อไขมันในหลอดเลือดสูงขึ้น จะทำให้หลอดเลือดตีบตันและระบบไหลเวียนเลือดทำงานแย่ลง หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้นในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย
นอกจากนั้นไขมันที่สะสมในเซลล์ร่างกายยังเข้าไปขัดขวางการทำงานของอินซูลิน
อินซูลินคือฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป ทำหน้าที่ช่วยให้ร่างกายนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดลง
แต่เมื่อไขมันเข้าไปขัดขวางการทำงานของอินซูลิน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินแย่ลงแล้ว จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ร่างกายก็ยิ่งจำเป็นต้องผลิตอินซูลินมามากขึ้น และเมื่อระดับอินซูลินในเลือดสูงกว่าระดับที่เหมาะสมก็จะทำให้ไตขับโซเดียมออกไปได้แย่ลงและทำให้ความดันสูงขึ้นในที่สุด
3.ผู้สูงวัย
เมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อมสภาพสะสมมานาน ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือด หัวใจ ไต ฯลฯ ล้วนทำงานแย่ลง อีกทั้งไขมันคอเลสเตอรอลถูกสะสมในหลอดเลือดเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ หลอดเลือดแข็งและตีบตันง่าย ระบบหมุนเวียนเลือดแย่ลง ผู้สูงวัยจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะมีความดันโลหิตสูง
ค่าความดันโลหิตในผู้สูงวัยโดยส่วนใหญ่จะมีค่าความดันโลหิตตัวบนสูงขึ้น แต่ค่าความดันโลหิตตัวล่างเท่าเดิมหรือน้อยลง ซึ่งแสดงว่าหลอดเลือดต้องรองรับความดันที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้นในช่วงที่หัวใจคลายตัวกับบีบตัว หลอดเลือดจึงเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น ดังนั้นในผู้สูงวัยจึงควรระวังไม่ให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อรักษาสภาพของหลอดเลือดให้แข็งแรง
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันไม่ใช่แค่ผู้สูงวัยที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง แต่ในวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ก็เริ่มเป็นโรคนี้กันมากขึ้น เนื่องจากขาดการดูแลสุขภาพที่ดี และการใช้ชีวิตที่กดดันรีบเร่งมากขึ้น ความเสื่อมต่างๆของร่างกายก็ยิ่งเกิดขึ้นเร็วขึ้นนั่นเอง
4.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่มีความเกี่ยวพันกันมาก โดยเมื่อเป็นโรคใดโรคหนึ่ง ก็จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นอีกโรคหนึ่งตามมาได้สูงมาก อีกทั้งยังตามมาด้วยโรคแทรกซ้อนของทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอีกมากมายด้วย
5.ผู้หญิงตั้งครรภ์และผู้หญิงวัยทองที่ฮอร์โมนไม่สมดุล
ฮอร์โมนเพศหญิงมีความเกี่ยวข้องกับระดับความดันโลหิตในร่างกายเรา โดยปกติผู้ชายจะมีความดันสูงกว่าผู้หญิงเพราะผู้หญิงมีฮอร์โมนเพศหญิงหรือฮอร์โมนเอสโตรเจนนั่นเอง
ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะมีส่วนช่วยในการป้องกันการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด จึงทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้หญิงน้อยกว่าผู้ชาย แต่ในผู้หญิงช่วงวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง ฮอร์โมนเพศหญิงนี้จะลดน้อยลง ส่งผลให้หลอดเลือดแข็งตัวง่ายขึ้น และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้สูงขึ้น
ในส่วนของหญิงตั้งครรภ์จะมีภาวะที่เรียกว่า โรคความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายกับแม่และเด็กได้ จึงควรระมัดระวังและตรวจความดันอย่างสม่ำเสมอในระหว่างตั้งครรภ์
6.ผู้ที่สูบบุหรี่
การสูบบุหรี่มีผลโดยตรงกับระดับความดันโลหิต เนื่องจากในบุหรี่มีสารนิโคตินที่ไปกระตุ้นให้สมองหลั่งสารที่ทำให้หลอดเลือดบีบตัวเพิ่มขึ้น และคาร์บอนมอนนอกไซด์จากการสูบบุหรี่ เมื่อถูกสูดเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ระดับออกซิเจนในกระแสเลือดลดลง ร่างกายจึงจำเป็นต้องสูบฉีดเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์มากขึ้นเพื่อไม่ให้เซลล์ขาดออกซิเจน อีกทั้งนิโคตินและคาร์บอนมอนนอกไซด์ยังทำให้คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันและส่งผลเสียต่อหลอดเลือดอีกด้วย จากโทษของสารทั้งสองชนิดนี้จึงทำให้การสูบบุหรี่ส่งผลร้ายแรงต่อระดับความดันโลหิตของเราอย่างมาก
จากการศึกษาพบว่าการสูบบุหรี่ 1 มวนจะส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น 10-20 มิลลิเมตรปรอทต่อเนื่องในเวลาอย่างน้อย 15 นาที และหากสูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวัน ก็จะทำให้ความดันโลหิตสูงไปตลอดทั้งวัน
วิธีการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
การพยาบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีข้อแนะนำการดูแลฟื้นฟูดังนี้
- ดูแลสุขภาพพื้นฐานให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- กินอาหารที่มีโภชนาการสมดุล ไม่กินรสเค็มเกินไป ไม่กินมันเกินไป
- ดูแลสุขภาพจิต ผ่อนคลายอารมณ์ ลดความเครียด
- ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ รักษาปริมาณน้ำในร่างกายให้ไม่ต่ำเกินไป – ถ้าหากร่างกายมีปริมาณน้ำน้อย จะทำให้เลือดหนืดเหนียว ยากต่อการลำเลียงไปเลี้ยงร่างกาย จึงทำให้หัวใจต้องสูบฉีดเลือดแรงขึ้น และทำให้ความดันสูงขึ้น เราจึงควรดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ น้ำควรเป็นอุณหภูมิปกติไม่ควรดื่มน้ำเย็น
- ดูแลคุณภาพในการนอนหลับ – นอนหลับให้เพียงพอและสร้างสภาพแวดล้อมให้หลับง่ายหลับสนิท
- นอนกลางวัน – การนอนระหว่างวันจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและค่าความดันโลหิตลดลงได้เช่นเดียวกับการนอนหลับในเวลากลางคืน อีกทั้งการนอนในแนวราบจะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ง่ายขึ้นเพราะไม่ต้องส่งเลือดต้านทานกับแรงโน้มถ่วงเหมือนเวลายืน การนอนกลางวันที่ดีควรงีบประมาณ 15 นาทีเป็นต้นไป จะช่วยลดค่าความดันได้ประมาณ 15-20 มิลลิเมตรปรอท โดยมีข้อควรระวังคือ ไม่ควรนอนกลางวันนานเกินไปเพราะอาจส่งผลเสียต่อคุณภาพในการหลับเวลากลางคืนได้
- สูดหายใจเข้าออกลึกๆ – การหายใจเข้าออกลึกๆยาวๆจะช่วยผ่อนคลายสมองและลดความเครียดได้ และส่งผลให้ค่าความดันดีขึ้นตามมาได้ถึง 30-40 มิลลิเมตรปรอท
- การรับแสงแดด – การตากแดดบ้างจะช่วยให้ได้รับรังสีอัลตราไวโอเล็ตซึ่งจะช่วยให้เกิดการผลิตวิตามินดี ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดการขยายหลอดเลือดและลดค่าความดันได้
- ดูแลการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก – ในผู้ที่ท้องผูก การออกแรงเบ่งเพื่อช่วยในการถ่ายจะทำให้ความดันขึ้นสูงอย่างรวดเร็วมากถึง 40-50 มิลลิเมตรปรอท และความดันก็จะลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น ทำให้หลอดเลือดต้องเจอกับสภาวะเปลี่ยนแปลงที่เร็วจึงส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพได้ง่าย จึงควรขับถ่ายอย่างสม่ำเสมอและกินอาหารประเภทกากใยไฟเบอร์เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคท้องผูก
- ไม่ควรอั้นปัสสาวะ – ในเพศชาย การอั้นปัสสาวะจะทำให้ความดันเพิ่มขึ้น และเมื่อปัสสาวะออกไปความดันก็จะลดลง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความดันที่รวดเร็วและส่งผลเสียต่อร่างกายถึงขั้นหมดสติได้
การออกกำลังกายในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
การออกกำลังกายจะให้ผลดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อความดันโลหิต
ผลดีระยะสั้นคือประมาณ 12 ชั่วโมงหลังจากเราออกกำลังกายค่าความดันเลือดตัวบนจะลดลง 18-20 มิลลิลิตรปรอท และค่าความดันเลือดตัวล่างจะลดลง 7-9 มิลลิลิตรปรอท
สำหรับผลดีในระยะยาวของการออกกำลังกาย จะช่วยให้ค่าความดันโลหิตลดลงได้ในระยะยาว และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดตีบและโรคหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยให้ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานดีขึ้น ออกซิเจนถูกลำเลียงเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์มากขึ้นจึงลดการทำงานของหัวใจลงได้ ช่วยลดไขมันที่เป็นต้นเหตุหนึ่งทำให้หลอดเลือดตีบตันและความดันสูง อีกทั้งยังมีผลดีต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย
อาหารลดความดันโลหิต
อาหาร อาหารเสริมและพืชสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารที่ช่วยลดความดันโลหิตได้ดีดังต่อไปนี้
กรดอะมิโนโปรตีน
กรดอะมิโนโปรตีนมีความสำคัญในการสร้างหลอดเลือด การขาดโปรตีนจะทำให้หลอดเลือดเปราะบางและเกิดความเสียหายได้ง่าย กรดอะมิโนโปรตีนที่สำคัญ เช่น แอลอาร์จินีน ช่วยฟื้นฟูหลอดเลือด ขยายหลอดเลือด ลดความเสื่อมสภาพของหลอดเลือด
กาบา
กาบาพบได้ในชาและจมูกข้าวญี่ปุ่น มีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือด และปรับสมดุลค่าความดันโลหิต
งา
ในงามีสารสำคัญเซซามินที่ช่วยลดความดันโลหิตและป้องกันอันตรายจากคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี
ถั่วเหลือง
ในถั่วเหลืองมีสารเลซิทินและไอโซฟลาโวน สารทั้งสองนี้ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
ฟลาโวนอยด์
ทำหน้าที่ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ผ่อนคลายกล้ามเนื้อเรียบที่บริเวณผนังหลอดเลือด
โพแทสเซียม
โพแทสเซียมเรียกได้ว่าเป็นยาลดความดันโลหิตสูงจากธรรมชาติ เป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่มีคุณสมบัติช่วยขับแคลเซียม เนื่องจากโซเดียมมีผลทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น โพแทสเซียมจึงช่วยป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นได้โดยการกระตุ้นให้ร่างกายกำจัดโซเดียมส่วนเกินออกไป โพแทสเซียมพบได้มากในผักผลไม้ โดยเฉพาะในผักขม
อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยโรคไตควรระวังไม่รับประทานโพแทสเซียมในปริมาณที่สูงเกินไป
แคลเซียมแมกนีเซียม
ความดันโลหิตเกี่ยวข้องโดยตรงกับความยืดหยุ่นของหลอดเลือด แคลเซียมและแมกนีเซียมมีความสำคัญในการช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ผนังหลอดเลือด จึงควรได้รับแร่ธาตุเหล่านี้ในปริมาณที่เพียงพอ
ไฟเบอร์ใยอาหาร
การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงจะช่วยดักจับไขมันส่วนเกินที่ส่งผลเสียต่อความดันโลหิต และยังช่วยลดปัญหาท้องผูกซึ่งทำให้ค่าความดันขึ้นสูงได้เวลาใช้แรงเบ่งอีกด้วย
อ้างอิงจาก
http://www.webmd.com/
ความดันโลหิตสูง โกรทฮอร์โมนช่วยได้
อาหารเสริมโกรทฮอร์โมนกับโรคความดันโลหิตสูง
อาหารเสริมโกรทฮอร์โมน GH3 ช่วยผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไร
อาหารเสริมโกรทฮอร์โมน GH3 ช่วยผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเห็นผลได้ชัดเจน โดยสารอาหารในอาหารเสริมจีเอชทรี รวมกรดอะมิโนที่ช่วยในการดูแลหลอดเลือด โดยเฉพาะ แอลอาร์จินีน (L-Arginine) เป็นกรดอะมิโนโปรตีนที่มีประสิทธิภาพสูงและได้รับการวิจัยสนับสนุนและพิสูจน์แล้วทั่วโลกในคุณสมบัติด้านการช่วยสมดุลระบบหมุนเวียนโลหิตและช่วยในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โดยแอลอาร์จินีนจะช่วยให้เกิดการสร้างไนตริกออกไซด์ ที่ช่วยควบคุมการทำงานของเซลล์ และมีความสำคัญต่อหลอดเลือดอย่างมาก โดยช่วยควบคุมกระบวนการทำงานของผนังด้านในหลอดเลือด และส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น เลือดไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆทั่วร่างกายได้ดีขึ้น ปรับสมดุลความดันเลือด และส่งผลให้ความดันเลือดลดลงในผู้ที่เป็นความดันสูง
และยังประกอบด้วยกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีน (L-Carnitine) ที่ทำหน้าที่ในการเผาผลาญไขมัน ช่วยเพิ่มการเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน ช่วยสลายการสะสมไขมันในหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุทำให้เป็นโรคไขมันในหลอดเลือดสูงหรือคอลเลสเตอรอลสูงนั่นเอง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันสูงอีกด้วย และช่วยป้องกันโรคหัวใจล้มและภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากความดันโลหิตสูง
นอกจากนั้น ในอาหารเสริมจีเอชทรียังรวมกรดอะมิโนและวิตามินต่างๆ เช่น แอลกลูตามีน แอลไลซีน แอลไกลซีน แอลออร์นิทีน แอลคาร์นิทีน แอลอาร์จินีน เวย์โปรตีน เป็นต้น ซึ่งกรดอะมิโนเหล่านี้มีหน้าที่สำคัญในการบำรุงต่อมใต้สมองให้หลั่งโกรทฮอร์โมนได้ดีขึ้น ซึ่งโกรทฮอร์โมนนี้ นักวิทยาศาสตร์เรียกว่าเป็นฮอร์โมนมหัศจรรย์ที่ช่วยย้อนวัยร่างกายให้กลับเป็นหนุ่มสาว ฟื้นฟูเซลล์ต่างๆจากความเสื่อมที่สะสมมาหลายปีให้กลับไปแข็งแรงเหมือนเมื่อยังเยาว์วัย ส่งผลให้โรคและอาการต่างๆที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมของร่างกาย ที่เรียกรวมกันว่า โรคชราภาพ และรวมถึงอาการต่างๆที่เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เช่น ผิวหนังเหี่ยวย่น ฝ้ากระ อาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ระบบการเผาผลาญที่แย่ลง น้ำหนักขึ้นง่ายลงยาก อาการนอนไม่หลับ เป็นต้น
อาหารเสริมบำรุงการหลั่งโกรทฮอร์โมนจะช่วยฟื้นฟูเซลล์ให้ที่เสื่อมให้กลับมาแข็งแรง ทำให้กระบวนการทำงานและรักษาสมดุลสุขภาพของร่างกายดีขึ้น และเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ซึ่งเป็นการช่วยฟื้นฟูตั้งแต่ต้นตอของการเกิดโรคและอาการต่างๆ ดังนั้นในผู้ที่สะสมความเสื่อมของเซลล์ยิ่งมากเท่าไร การทานอาหารเสริมโกรทฮอร์โมนก็จะยิ่งเห็นผลชัดเท่านั้นในการย้อนวัยและป้องกันและฟื้นฟูโรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย
ระยะเวลาการเห็นผลสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง: ช่วงเวลาการเห็นผลในส่วนของโรคความดันสูงจะแตกต่างกันไปตามระดับอาการของผู้ที่เป็น แต่โดยเฉลี่ยจากผลตอบรับของลูกค้าที่รับประทานจะเห็นผลชัดว่ามีการลดลงของระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 1-2 เดือนแรกของการรับประทาน โดยมีสูตรที่แนะนำในการทานคือ ในเดือนแรกรับประทาน 2 เม็ดก่อนนอน และ 2 เม็ดหลังตื่นนอน และเดือนที่ 2 รับประทาน 1 เม็ดก่อนนอน และ 1 เม็ดหลังตื่นนอน
อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกที่ทาน สามารถสังเกตได้ถึงผลลัพธ์ด้านอื่นๆที่ดีขึ้น เช่นการนอนหลับที่ดีขึ้น ความสดชื่นแจ่มใส ลดอาการอ่อนเพลีย สมองปลอดโปร่งขึ้น ความจำและสมาธิการจดจ่อดีขึ้น ผิวหนังเต่งตึง กระชับขึ้น การฝ้าจางลง ผิวขาวใสขึ้น เป็นต้น
ในผู้ทานที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ภายในระยะเวลา 4-7 วันแรกของการทานบางคนจะรู้สึกปวดหัวมากขึ้นเล็กน้อย สามารถทานร่วมกับยาแก้ปวดได้ เพราะในช่วงนี้ร่างกายกำลังอยู่ในกระบวนการขับสารพิษ และล้างไขมันมันในเส้นเลือด ขยายเส้นเลือด และสมดุลระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกาย ซึ่งอาการปวดหัวในผู้ที่เป็นความดันสูงในช่วง 4-7 วันแรกของการทานเป็นสัญญาณที่ดีอย่างยิ่งที่ชี้ว่าร่างกายกำลังฟื้นฟู และภายในไม่เกิน 1 อาทิตย์ อาการปวดหัวจะหายไป แล้วจะรู้สึกโปร่งโล่งสบายขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
โรคความดันโลหิตสูง คืออะไร
ความดันโลหิตเกิดจากการที่หัวใจบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
ความดันโลหิต ค่าที่ปกติของคนเราจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท และไม่ควรเกิน 140/90 มิลลเมตรปรอท ซึ่งหากมีค่าความดันโลหิตที่สูงกว่าช่วงนี้จะแสดงว่าคุณกำลังเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ที่เป็นโรคความดันสูง จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไต โรคอัมพาต เป็นต้น โดยเฉพาะโรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง
อาการของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ที่เป็นโรคความดันสูงมักจะไม่แสดงอาการอะไรที่ชัดเจน เพราะความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้ร่างกายปรับตัวและไม่รู้สึกกับการเปลี่ยนแปลง โดยเมื่อสะสมอาการไว้มากๆ อาจมีอาการแสดงออกดังต่อไปนี้
1. อาการปวดหัว โดยจะปวดหัวขึ้นอย่างฉับพลันในเวลาที่ความดันสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. เลือดกำเดาไหลง่าย ผู้ป่วยที่เลือดกำเดาไหลมีความเสี่ยงของการเป็นโรคความดันสูงถึง 17%
3. อาการมึนเวียนศรีษะ สมองตื้อๆ
4. สายตาพร่ามัว
5. อาการเหนื่อยง่าย หายใจหอบ ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง
6. อาการแน่นหน้าอก
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงทุกคนสามารถเป็นได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้
– ผู้ที่น้ำหนักเกิน
– ผู้ที่ทานเค็ม ทานเกลือเยอะ
– ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย
– ผู้ที่มีความเครียดสูง
– ผู้ที่สูบบุหรี่
– ผู้ที่เป็นเบาหวาน หรือมีไขมัน คลอเลสเตอรอลในเลือดสูง
และหากประวัติในครอบครัวมีผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงลูกก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น
โรคความดันโลหิตสูง โกรทฮอร์โมนช่วยได้
สามารถฟังเสียงและอ่านบทสัมภาษณ์ของตัวอย่างลูกค้าที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และได้รับประทานอาหารเสริมโกรทฮอร์โมนจีเอชทรีได้ผลลัพธ์เรื่องความดันสูงเป็นที่น่าพอใจได้ตามด้านล่างนี้เลยค่ะ